หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ช๊อกโกแลตซีสต์ chocolate cyst

หมอนอกกะลา
ช๊อกโกแลตซีสต์ chocolate cyst

ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยโรคของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)มีลูกยาก, เนื้องอกโพรงมดลูก, ตั้งครรภ์
ซึ่งหมายถึง ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญนอกโพรงมดลูก แล้วทําให้เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณนั้นๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของสตรีทั่วไป โรคนี้จะทําให้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจําเดือนอย่างมาก มีบุตรยาก โรคนี้สัมพันธ์
กับฮอร์โมนเอสโตรเจน

การตรวจร่างกายสตรีที่เป็นโรคนี้มักไม่ค่อยพบสิ่งผิดปกติดังนั้นแพทย์ผู้ดูแลต้องคิดถึงโรคนี้ไว้เสมอเมื่อผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดประจำเดือน หากตรวจภายในพบลักษณะมดลูกควํ่าหลัง ติดแน่นเคลื่อนไหวได้น้อย หรือมีกดเจ็บบริเวณ utero-sacral ligament (US) หรือคลําได้ก้อนตะปุ่มตะป่ำที่ US ligament หรือคลําได้ก้อนถุงนํ้าปีกมดลูก ร่วมกับอาการที่กล่าวมา



โรคนี้เกิดจากหลายปัจจัย (multifactorial factors) และมีหลายทฤษฎีที่พยายามจะอธิบาย อาทิ ทฤษฎีของการเกิดโรคนี้ที่เชื่อว่าเกิดจากการไหลย้อนของเลือดประจำเดือนจากโพรงมดลูกออกไปตามท่อรังไข่แล้วตกลงไปในอุ้งเชิงกรานแล้วทำให้เกิดโรค ซึ่งทฤษฎีนี้ก็ไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดเพราะในบางคนไม่เป็นโรคนี้แม้มีการไหลย้อนกลับของประจำเดือน

ทฤษฎีส่วนใหญ่เชื่อว่าระบบภูมิคุ้มกันน่าจะมีบทบาทมากในการที่จะมีความ
สามารถกําจัดเยื่อบุโพรงมดลูกที่มาเจริญผิดตําแหน่ง นอกจากนั้นงานวิจัยใหม่ๆ ยังพบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกที่มาเจริญผิดตําแหน่งนี้สามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในตัวเองได้โดยผ่าน aromatase enzyme มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis) มีการสร้างเส้นประสาทใหม่ (neurogenesis) ในเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่เหล่านี้ทําให้เซลล์มีการเจริญแบ่งตัวไปได้เรื่อยๆ ซึ่งในวงการแพทย์แผนแผนปัจจุบันเชื่อว่ารักษาแล้วไม่หายขาด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาระยะยาวอย่างมาก บางคนจึงเรียกโรคนี้เป็น pseudo-malignancy disease

หากแบ่งตามลักษณะการตรวจพบพยาธิสภาพจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

1. เยื่อบุโพรงมดลูก กระจายอยู่ตามเยื่อบุช่องเชิงกราน (Pelvic endometriosis) ตามทฤษฎีของการเกิดโรค เชื่อว่าเกิดจากไหลย้อนของเลือดประจําเดือนออกไปตามท่อรังไข่แล้วตกเข้าสู่อู้งเชิงกรานแล้วมีการเจริญต่อ

2. ถุงนํ้ารังไข่ (Endometriotic cyst หรือ endometriomas) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปตกที่ผิวของรังไข่ มีการเจริญเติบโตของเซลล์ท่อบุโพรงมดลูกแล้วดันผิวรังไข่เข้าไปด้านใน เมื่อมีเลือดออกในแต่ละรอบเดือนก็จะมีการสะสมเลือดมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเป็นก้อนถุงนํ้าเลือดที่รังไข่ เม็ดเลือดมีการแตกสลายจึงทำให้เห็นเป็นเลือดเก่าๆ สีน้ำตาลคล้ายช็อกโกแล็ตบางครงจึงเรียกว่าchocolate cyst

3. เยื่อบุโพรงมดลูกชนิดที่ฝังลึก (Deep infiltration endometriosis) มักพบที่ recto-vaginal septum

กลไกที่ทำให้เกิดอาการปวดในภาวะมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ

1. มีการสร้าง prostaglandins เฉพาะที่มากขึ้น จากการเพิ่มการทำงานของ
cyclo-oxygeneous-2 (COX-2)

2. มีการเพิ่มของ macropharges ทำให้เกิดภาวะ
การอักเสบแบบเรื้อรัง

3. มีการเพิ่มของ cytokines, tumor necrotic factors,
interleukinsในช่องท้อง

4. มีการเพิ่มของ nerve growth factors

5. มีการเพิ่มของ nerve fiber และแทรกซึมเข้าไปใน
nerve fiber โดยเฉพาะพวก deep infiltrating endometriosis

6. มีการสร้าง vascular endothelial growth factors ซึ่ง
จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่และท่อนํ้าเหลือง
ใหม่ ทำให้เพิ่มเซลล์ไปเรื่อยๆ

การรักษา

ในวิธีการของการแพทย์แผนปัจจุบัน หาอ่านได้ในเวปไซต์ต่าง ๆ ครับ แต่ที่มาหาผม มักจะเบื่อการกลับมาเกิดใหม่ของโรคหรือ ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างแพง และโรคแทรกซ้อนที่ตามมาจากการใช้สารเคมี หรือจากการตัดมดลูกทิ้งไป ซึ่ง จะตามมาด้วยนิ้วล็อคและผ่านิ้วกันไม่หยุดไม่หย่อน

คำถาม

แล้วมันฝ่อได้เองหรือไม่

ตอบ

ฝ่อได้ครับ

หลายคนคงเคยได้ยินมาว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถช่วยรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้ แล้วสงสัยต่อว่า เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ขอยืนยันเลยครับว่า การตั้งครรภ์ และมีบุตรสามารถรักษาโรคช็อกโกแลตซีสต์ได้จริง เพราะช่วงเวลาตั้งครรภ์ 9 เดือน จนถึงหลังคลอดอีก 3-6 เดือน จะเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือน ซึ่งจะทำให้ถุงน้ำที่มีอยู่ฝ่อตัวไปได้นั่นเอง

แล้วถ้าไม่อยากมีลูกล่ะ จะทำอย่างไร

ก็ทำให้ฮอร์โมนเพศ สมดุลโดย

1.ไม่เอาฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอยู่ใน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ น้ำมะพร้าว น้ำยาปรับผ้านุมและน้ำยาขัดเบาะรถ (อ่านรายละเอียดได้ในโพสต์ นิ้วล็อคครับ)
2.ใส่โปรเจสเตอโรน จากภายนอกเข้าไป ก็มีในเมล็ดฟักทองโดยให้กิน 1 ฝ่ามือวันเว้นวัน
3.ปรับระบบการย่อยของร่างกายให้ดีขึ้นเพื่อส่งสารอาหารที่จำเป็นไปช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่มีปัญหาได้ดีขึ้น

แต่ถ้าใครเร่งรีบหรือไม่สบายใจก็ทักมา เดี๋ยวป๋าจัดอาหารเสริมให้

ก่อนลาก็ขอให้ทุกคนทุกท่านมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้านะครับ
ใครอยากอ่านเพิ่มเติมก็ได้ครับเพราะผมก็เขียนมาจากที่ผมอ่านและจากประสบการณ์ในการบำบัดครับ

1. http://www.library.nhs.uk/womensheeth. (Access June 2010)
2. Barlow DH, Kennedy S. Endometriosis: new genetic
approaches and therapy. Ann Rev Med 2005;56:345-56.
3. Noble LS, Simpson ER, Johns A, Bulun SE. Aromatase
expression in endometriosis. J Clin Endocrinol Metab 1996; 81:174-9.
4. Bulun SE. Mechanisms of endometriosis. N Engl J Med
2009; 360:268-79.
5. Vinatier D, Orazi G, Cossan M, Dufour P. Review:theories of endometriosis. Eur J Obstet Gynecol ReprodBiol 2002; 96:21-3.
6. Tokushige N, Markham R, Russell P, Fraser IS.
High density of nerve fi bers in the functional layer of endometrium of women with endometriosis. Hum Reprod 2006; 21:782-87.
7. Fraser IS. Mysteries of endometriosis pain: Chien-Tien
Hsu Memorial Lecture. J Obstet Gynaecol Res 2010;36:1-10.
8. Nezhat F, Datta MS, Hanson V, Pejovic T, Nezhat
C, Nezhat C. The relationship of endometriosis and
malignancy. Fertil Steril 2008; 90: 1559–70.
9. Practice Bulletin No 114: Management of endometriosis.
Obstet Gynecol 2010; 116: 223-36.
10. The ESHERE guideline on endometriosis 2008.
11. Abou Setta AM, Al Inany HG, Farquhar CM.
Levonorgestrel releasing intrauterine device for
symptomatic endometriosis following surgery. Cochrane
Database of Systematic Reviews. 2006, Issue 4, Article
No. CD005072.
12. Walch K, Unfried G, Huber J, Kurz C, van Trotseriburg M,
Pernicka E, et al. Implanon versus medroxyprogesterone
acetate. Contraception 2009: 79; 29-
13. Vercellini P, Crosiganni PG, Somiglina E, Berlanda N,
Babara C, Fedele L. Medical treatment of endometriosis:
what is the evidence? Hum Reprod 2009; 24:2504-14.
14. Yeung PP, Shwayder J, Pasic RP. Laparoscopic
management endometriosis : comprehensive review
of best evidence. J Minim Invasive Gynecol 2009;
16:269-81.
15. Lv D, Song H, Shi G. Anti-TNF-? treatment for pelvic pain
associated with endometriosis. Cochrane Database of
Systematic Reviews 2010, Issue 3. Art. No.: CD008088.
DOI: 10.1002/14651858.CD008088.pub2.
16. Alborzi S, Hamedi B, Omidvar A, Dehbashi S, Alborzi
S, Alborzi M. A comparison of the effect of short-term
aromatase inhibitor (letrozole) and GnRH agonist
(triptorelin) versus case control on pregnancy rate
and symptom and sign recurrence after laparoscopic
treatment of endometriosis. Arch Gynecol Obstet 2010.
DOI 10.1007/s00404-010-1599-6.
17. Jacobson TZ, Duffy JMN, Barlow D, Koninckx PR, Garry
R. Laparoscopic surgery for pelvic pain associated
with endometriosis. Cochrane Database of Systematic
Reviews 2009, Issue 4. Art. No.: CD001300. DOI:
10.1002/14651858.CD001300.pub2.
18. Hart RJ, Hickey M, Maouris P, Buckett W, Garry R.
Excisional surgery versus ablative surgery for ovarian
endometrioma. Cochrane Database of Systematic
Review 2008, Issue 2, Article No. CD 004992.
19. Proctor M, Latthe P, Farquhar CM, Khan KS, Johnson
N. Surgical interruption of pelvic nerve pathways for
primary and secondary dysmenorrhoea. Cochrane
Database of Systematic Reviews 2005, Issue 4. Art. No.:
CD001896. DOI: 10.1002/14651858.CD001896.pub2.
20. The Practice Committee of the American Society for
Reproductive Medicine. Treatment of pelvic pain and
endometriosis. Fertil Steril 2008; 90:S260-9.
21. Shabika K, Bena JF, McGrill KM, Minger J, Falcone T.
Surgical treatment of endometriosis: a 7-year follow-up
on the requirement for further surgery. Obstet Gynecol
2008; 111:1285-92.
22. Loverro G, Carrier C, Rossi AC, Putignano G, Selvaggi L.
A randomized study comparing triptorelin or expectant
management following conservative laparoscopic
surgery for symptomatic stage III-VI endometriosis.
Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol 2008; 136:194-8.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น