หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

เก๊าท์ ตอนที่ 3

เก๊าท์ ตอนที่ 3 (หมอนอกกะลา)
เมื่อระงับเหตุบางส่วนซึ่งถือว่าเป็น ขาเข้า คราวนี้มาดูว่า ทำไมร่างกายยังคงสร้างยูริกกัน ก็จากตอนที่ 1 ครับ กรดยูริกเป็นผลจากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกายซึ่งสารพิวรินเกิดจากการสลายโปรตีนของร่างกาย ผู้ที่มีกรดยูริกสูงเกิดจากความผิดปรกติของยีนในการสลายสารพิวรีน แล้วแก้ไขได้ไหมครับ ถ้าคุณเชื่อว่าร่างกายมหัศจรรย์ ก็แก้ได้ครับ

โดยสาเหตุของโรคนี้คือ อาจจะเกิดได้จากความผิดปกติของ การขับยูเรีย หรือการขาดเอนไซม์บางชนิด เช่น ขาด HGPRT หรือ มีแอคติวิตี้ของเอนไซม์ PRPP synthetase มากเกินไป ทำให้เกิดการไม่ไวต่อการควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมของพิวรีนนิวคลีโอไทด์
นอกจากนี้ยังเกิดได้จากมิวเตชั่นของเอนไซม์ PRPP amidotransferaseในกรณีที่คนไข้เป็นโรคเก๊าท์จากการขาดเอนไซม์ HGPRT ซึ่งจะพบว่า ในกระแสเลือดมีระดับของเอนไซม์ลดลง แต่ยังมีเอนไซม์ที่สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าการเกิดมิวเตชั่นของเอนไซม์จะทำให้บริเวณเร่งปฏิกิริยาเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เอนไซม์ยังสามารถทำงานได้อยู่ ซึ่งจะพบว่าถ้าเกิด “null mutation” ซึ่งไม่มีการสร้างเอนไซม์เลย พบโดย Michael-Lesch และคณะ William Nyhan ซึ่งพบว่าโรค Lesch Nyhan syndrome เป็นโรคพันธุกรรมที่ถ่ายทอดผ่าน sex link trait (chromosome X) คนไข้จะมีอาการรุนแรงของเก๊าท์ นอกจากนี้ยังมีอาการทางระบบประสาท (malfunction of nerve system) มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เรียนรู้ได้น้อย ในบางรายของคนไข้จะมีการกัดเล็บ กัดฟัน ซึ่งการเกิดอาการเช่นนี้ ยังไม่สามารถอธิบายได้ ในปัจจุบันโรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ในตอนตั้งครรภ์จากการตรวจน้ำคร่ำ โดย พบว่าเซลล์จากคนไข้ Lesch-Nyhan จะไม่สามารถนำเอาไฮโปแซนทีน ที่ถูกติดฉลากด้วยสารรังสีที่เข้าไปใช้ในการสร้างกรดนิวคลีอิกนอกจากนี้ยังมีโรคอื่นที่อาจเกิดจากการผิดปกติของพิวรีนเมแทบอลิซึม ใน
มนุษย์ มีการศึกษาพิวรีนเมแทบอลิซึมอย่างละเอียด ในปี ค.ศ. 1972 จากการศึกษาคนไข้ที่เป็นโรคที่เรียก severe combined immunodeficiency syndrome คนไข้กลุ่มนี้มักจะตายจากการเป็นโรคติดเชื้อเพราะ ระบบภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองต่อแอนติเจนโดยพบว่าระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหาทั้ง B และ T lymphocyte
นอกจากนี้ยังพบว่าคนไข้อาจจะขาดเอนไซม์ adenosine deaminase (ADA) ซึ่งจากความสัมพันธ์จะพบว่า ADA จะทำปฏิกิริยากับดีออกซีอะดีโนซีน ซึ่งเป็นผลจากการสลายของดีเอ็นเอ นอกจากนี้เม็ดเลือดขาว ของคนไข้กลุ่มนี้จะมี salvage เอนไซม์มากโดยเฉพาะเอนไซม์ nucleoside kinase ซึ่งจะทำให้มีการ เปลี่ยนอะดีโนซีนและดีออกซี อะดีโนซีน ไปเป็นนิวคลีโอไทด์ ซึ่งก็คือ dATP ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวยับยั้งที่ สำคัญของ DNA replication เพราะ dATP จะยับยั้งการสังเคราะห์ ดีออกซินิวคลีโอไทด์จาก ไรโบนิวคลี โอไทด์ ซึ่งจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่สามารถเกิด proliferate ได้สารพวกแอนติบอดีได้ ล่าสุดในปี
1997 มีนักวิทยาศาสตร์พบว่า dATP เป็น สัญญาณ ที่จะไปกระตุ้นให้เกิด apoptosis ในปี 1995 มีการรักษาโรค adenosine deaminase deficiency โดย gene therapy โดยการ clone gene adenosine deaminase เข้าไปใน viral vector นำเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านเพื่อให้เกิดการสร้างเอนไซม์ได้มากขึ้น
คนที่ไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้อ่านแล้วคงปวดหมองแบบ อิคคิวซัง ผมสรุปจากงานวิจัยทั้งหมดที่เคยอ่านมาได้เลยว่า ร่างกายขาดเอ็นไซม์ครับ แล้วถามว่า มีมั๊ย ก็มีซิครับ ผมเขียนเรื่องการย่อยไว้ให้อ่านกันแล้ว 3 ตอน ลองอ่านกันดูครับ สำหรับท่านที่พอเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ ก็ลองหางานของของคนไทยก็ได้ครับ ของฝรั่งที่เก่งโรคนี้เป็น อิตาเลี่ยน อ่านยากครับ ของผศ. ดร. สมปอง ธรรมศิริรักษ์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าใจง่ายพอสมควร ถึงแม้จะลอกเขามาก็ตามทีครับ
เอาล่ะ เมื่อหยุดขาเข้า ปรับปรุงการสร้าง ยูริก กันแล้ว ตอนสุดท้ายที่จะตามมาก็จะเป็นการปรับปรุงขาออกกัน คอยติดตามนะครับ สำหรับวันนี้ ก็ขอให้ทุกท่านสุขภาพดีกันทุกถ้วนหน้าครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น