หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กระดูกพรุน Osteoporosis

กระดูกพรุน Osteoporosis
อ่านให้เข้าใจ แล้วไปให้ถูกทาง กินยาแบบทิ้งขว้าง เสียดาย ตับไต
ป้องกันก็ไม่ยาก เพียงแค่ใส่ใจ แต่ถ้าอยากปล่อยไว้ ก็ตัวใคร ตัวมัน

คนที่ชอบทำให้ร่างกายเป็นกรด พอเริ่มอายุมากหน่อย โดนทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ Steriod และไม่ออกกำลังกาย
ตามผมมา

ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นแกนหลักให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1
ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน
กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสะโพก และหลังโก่งงอ กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการครับ
ความหนาแน่นของมวลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
แคลเซียมและแมกนีเซียม
สารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของมวลกระดูก และมีคุณสมบัติเป็นด่าง สามารถทำให้ร่างกายมีความเป็นด่างเพิ่มขึ้นได้ แต่การที่ร่างกายจะนำสารด่างเหล่านี้มาใช้ ร่างกายจำต้องสลายสารด่างเหล่านี้ออกมาจากกระดูกก่อนจะนำมาใช้ปรับสมดุลกรด-ด่าง ในกระแสเลือดที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย หากร่างกายมีสภาวะเป็นกรดอ่อนๆอยู่ตลอดเวลา การสลายมวลของกระดูกให้ได้เป็นสารด่างออกมาเพื่อใช้งาน ก็จะเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สภาวะความเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายนี้ ยังส่งสัญญาณยังยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่สร้างกระดูก (Osteoblast) และกระตุ้นให้เซลล์สำหรับสลายกระดูก (Osteoclast) ทำงานอย่างขยันขันแข็งขึ้น ส่งผลรวมให้มวลกระดูกลดลง สำหรับคนที่มีปัญหา กระดูกบาง กระดูกพรุน ก็ควรทำให้ร่างกายเป็นด่างแล้วค่อยทานอาหารเสริมที่มีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง มวลกระดูกก็จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเซลล์สำหรับสร้างมวลกระดูกไม่ถูกยับยั้งการทำงาน (Tucker et al,2001)
“แคลเซียมช่วยป้องกันกระดูกพรุน จริงหรือ” เอะอะ อะไร หมอก็บอกให้ดื่มนม กินปลาเล็กปลาน้อย มาอ่านกัน
การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของภาวะกระดูกหักที่มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) กับปริมาณของแคลเซียมที่รับประทาน ในกลุ่มประชากรของประเทศต่างๆ จะเห็นได้ว่าในบรรดาประเทศที่เกิดภาวะกระดูกหักต่ำกว่า 50 ครั้งต่อประชากร 100,000 คน มีการรับประทานแคลเซียมในปริมาณที่ต่ำกว่า 800 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนประชากรในประเทศที่บริโภคแคลเซียมเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน กลับมีอุบัติการณ์กระดูกหักสูงกว่า 3-5 เท่าตัว
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานแคลเซียมในปริมาณสูงอาจจะไม่ใช่วิธีป้องกันหรือรักษาที่ถูกต้อง ในทางตรงกันข้ามอาจจะส่งผลเสียก็ได้ในกรณีที่รับประทานมากจนเกินไป กล้ามเนื้อเองก็ถูกร่างกายนำไปใช้ในการปรับสมดุลของกรด-ด่าง เหมือนกัน โดยการนำกรดอะมิโนกลูตามีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์กล้ามเนื้อไปสร้างแอมโมเนีย ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง ทำให้ร่างกายต้องสลายมวลของกล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ได้กรดอะมิโนกลูตามีน สำหรับใช้ในการปรับสมดุลที่ร่างกายต้องการอีกทางหนึ่ง การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงและอ่อนล้าลงเรื่อยๆ (Maurer et al,2003)
ใครไม่อยากมีปัญหานี้เมื่ออ่านแล้วก็ลดกรดในตัวกันหน่อยนะ ห่วงใยจากใจจริง สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น