หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Polycystic Ovary Syndrome (PCOS)

!!!ลองอ่านวิธีการที่ปลอดภัยและง่ายกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าและไม่แพงซึ่งมุ่งเน้นไปที่สาเหตุและไม่เพียงแต่รักษาอาการของ PCOS เท่านั้น แพทย์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะกำหนดการรักษาออกเป็นสองวิธีซึ่งทั้งสองวิธีนี้มีผลต่ออาการเท่านั้นและไม่ประสบความสำเร็จ วิธีการที่หนึ่งคือการรักษาแบบชั่วคราวด้วยสารเคมีโดยใช้ยาคุมกำเนิด,Androgens (ฮอร์โมนเพศชาย),ตัวยับยั้ง androgen, estrogens สังเคราะห์, Lupron หรือยาที่คล้ายคลึงกันซึ่งป้องกันการผลิตฮอร์โมน อีกวิธีการหนึ่งคือให้ยาชนิดใหม่สำหรับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งจะช่วยลดการต้านทานต่ออินซูลิน ...PCOS คืออะไร... PCOS หมายถึงซีสต์หลายลูกที่รังไข่และเป็นตัวก่อปัญหาอื่น ๆ รวมถึง Anovulation (ขาดการตกไข่) และความผิดปกติของประจำเดือน Hirsutism (ภาวะขนดก) ศีรษะล้าน สิวและอ้วน ผู้หญิงเหล่านี้อาจมีระดับความต้านทานต่ออินซูลินที่แตกต่างกันและมีอัตราการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 เพิ่มขึ้น มีรูปแบบไขมันที่ไม่เอื้ออำนวย (โดยปกติจะมีไตรกลีเซอไรด์สูง) และความหนาแน่นของกระดูกต่ำ
การทดสอบในห้องปฏิบัติการมักแสดงให้เห็นว่ามีฮอร์โมนเพศชายสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเทอโรน PCOS เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงไม่มีการตกไข่ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความขัดข้องในความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรของฮอร์โมน สมองและรังไข่ โดยปกติสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ศูนย์ควบคุมภายในสมองจะตรวจจับฮอร์โมนของรังไข่และจัดทำข้อมูลให้ตรงกับรอบเดือนตามปกติ เมื่อภาวะการตกเลือดรายเดือนสิ้นสุดลง Hypothalamus จะหลั่งฮอร์โมน gonadotropin-releasing hormone (GnRH) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นต่อมใต้สมองในสมองเพื่อให้ปล่อย follicle stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ฮอร์โมนเหล่านี้ทำหน้าที่สั่งให้รังไข่เริ่มสร้างเอสโตรเจน (ส่วนใหญ่เป็น estradiol) และกระตุ้นการเจริญของไข่ประมาณ 120 ฟอลลิเคิล ฟอลลิเคิลแรกที่สร้างไข่จะปล่อยไข่ไปสู่ท่อนำไข่เพื่อเดินทางไปยังมดลูกและจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็น คอร์ปัสลูเทียม ( Corpus luteum )ซึ่งเป็นโรงงานผลิตโพรเจสเตอโรนและเพิ่มความเข้มข้นของโพรเจสเตอโรนไปในระดับที่สูงกว่า estradiol 200 ถึง 300 เท่า การหลั่งฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนขนาดใหญ่นี้จะทำให้เยื่อหุ้มมดลูกเข้าสู่ระยะหลั่งหรือการสุกได้พร้อมกันและจะปิดการตกไข่จากรังไข่อีกข้างหนึ่ง ถ้าการปฏิสนธิไม่เกิดขึ้น...รังไข่จะหยุดการผลิตทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน การลดลงอย่างฉับพลันในความเข้มข้นของฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้เกิดการสลายตัวของมดลูกและมีเลือดออก (มีประจำเดือน) จากนั้นในการตอบสนองต่อระดับฮอร์โมนที่ต่ำจะมีการเพิ่มขึ้นของ GnRH และวัฏจักรจะเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ............................................................................................ แต่เกิดอะไรขึ้นกับวัฏจักรนี้ถ้า (ด้วยเหตุผลบางอย่าง)การตกไข่จึงไม่สำเร็จ!! ........................................................................................... ยกตัวอย่างเช่น ถ้าฟอลลิเคิลย้ายไปด้านนอกของรังไข่ แต่ไม่ได้ "แตกโป๊ะ" และปล่อยไข่.. ฟอลลิเคิลจะกลายเป็นถุงซีสต์และฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนตามปกติไม่ได้เกิดขึ้น การขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนถูกตรวจพบโดยสมองส่วนไฮโปธาลามัสซึ่งยังคงพยายามกระตุ้นรังไข่โดยการเพิ่มการผลิต GnRH ซึ่งทำให้ต่อมใต้สมองเพิ่มการผลิต FSH และ LH สิ่งนี้กระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมน androgens มากขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้ฟอลลิเคิลจำนวนมากมีการตกไข่ ถ้าฟอลลิเคิลเหล่านี้ยังไม่สามารถผลิตไข่ที่โตเต็มที่หรือโพรเจสเตอโรนได้ วัฏจักรประจำเดือนจะถูกครอบงำโดยการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดรเจนโดยที่ไม่มีโพรเจสเตอโรน...และนี่คือความผิดปกติพื้นฐานที่สร้าง PCOS !! ไข่ไม่”แตกโป๊ะ”และโพรเจสเตอโรนจึงไม่ได้เกิดขึ้น อะไรที่ทำให้ฟอลลิเคิลทำงานไม่สมบูรณ์และไม่ปล่อยไข่!!... สิ่งนี้เกิดจากการสัมผัสของตัวอ่อนกับ Xenobiotics : มลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่ทำปฏิกิริยาทางเคมีจนออกฤทธิ์เสมือนฮอร์โมนหญิง(เอสโตรเจน)ในเนื้อเยื่อของทารกแรกเกิด เมื่อมีการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ จะมีการสร้างฟอลลิเคิลไว้ประมาณ 5แสนถึง 8แสนฟอลลิเคิล ซึ่งแต่ละตัวจะมีไข่ที่ยังไม่แก่เต็มที่ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการสร้างฟอลลิเคิลในระหว่างขั้นตอนของตัวอ่อนนี้มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากต่อความเป็นพิษของ xenobiotics เมื่อแม่สัมผัสกับสารเคมีเหล่านี้เธอจะไม่มีความเสียหายใด ๆ แต่ลูกน้อยที่เธออุ้มท้องอยู่นั้นจะอ่อนแอมากขึ้นและสารเคมีเหล่านี้อาจทำให้ฟอลลิเคิลของหญิงมีครรภ์เสียหายและทำให้เกิดความผิดปกติได้ ไม่สามารถทำให้เกิดการตกไข่ที่สมบูรณ์หรือผลิตฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนได้อย่างเพียงพอ ความเสียหายนี้จะไม่ปรากฏจนกว่าเด็กหญิงคนนั้นถึงวัยแรกรุ่น !! ปัจจัยด้านวิถีชีวิตที่ทำให้ฟอลลิเคิลทำงานผิดปกติ มีปัจจัยอื่น ๆ ที่นำไปสู่การทำงานที่ไม่สมบูรณ์ของฟอลลิเคิลซึ่งรวมถึงความเครียด (นำไปสู่การผลิตระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงโดยต่อมหมวกไต) การขาดการออกกำลังกายและโภชนาการที่ไม่ดี .. !!โปรดจำไว้ว่า… -ความเครียดเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เกิดรอบการมีประจำเดือนเปลี่ยนได้ -ยาคุมกำเนิดปิดการทำงานที่เป็นปกติของรังไข่และบางครั้งก็ไม่สามารถกู้คืนได้เมื่อหยุดยา -อาหารของเราเต็มไปด้วยสารปนเปื้อนปิโตรเคมีเช่น xenobiotics ซึ่งทำให้การเผาผลาญอาหารของเราหยุดชะงัก -การใช้ยาตามใบสั่งแพทย์เช่น Prozac (ยารักษาโรคซึมเศร้า) ทำให้ระบบประสาทของสมองพิการรวมไปถึงสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)ซึ่งอาจส่งผลต่อรอบประจำเดือน !! อาหารที่เชื่อมโยงกับ PCOS โดยส่วนใหญ่ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ PCOS คืออาหารที่ไม่ดี หญิงสาวที่มี PCOS มีแนวโน้มที่จะกิน...น้ำตาล...มากเกินไปและแป้งขัดขาวสูง อาหารเหล่านี้ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลิน ตามที่ Jerilyn Prior, M.D.กล่าวไว้ : อินซูลินกระตุ้นตัวรับแอนโดรเจนที่ด้านนอกของรังไข่และนี่คือการทำให้เกิด PCOS ซึ่งแสดงออกโดยมีเส้นขนส่วนเกิน (บนใบหน้า, แขน, ขา) ผมบาง(บนศีรษะ) และสิว และในที่สุดอาหารประเภทนี้จะทำให้เกิดโรคอ้วนซึ่งจะทำให้เกิดความต้านทานต่ออินซูลิน (เซลล์ไม่สามารถที่จะใช้อินซูลิน) ซึ่งจะทำให้ PCOS รุนแรงขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้แอนโดรเจน(Androgens) ยังมีบทบาทในการปิดกั้นการปล่อยไข่ออกจากฟอลลิเคิลอีกด้วย ผู้หญิงที่มีปัญหาการทำงานผิดปกติของฟอลลิเคิลเป็นจำนวนมากจากการได้สัมผัสกับ Xenobiotic จะมีปัญหาที่เลวร้ายยิ่งขึ้นถ้าอาหารของพวกเขามีปริมาณ..น้ำตาลที่สูงและมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ และเนื่องจากเป็นประเภทของอาหารที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นและหญิงสาว..จึงเข้าใจได้ง่ายว่าทำไมจึงมี PCOS จึงมีมากในกลุ่มอายุนี้ เมื่อห้าสิบปีที่แล้วคนทั่วไปมีค่าเฉลี่ยการบริโภคน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัมต่อปี แต่ในวันนี้..วัยรุ่นทั่วไปกิน 3 กรัมหรือมากกว่าต่อสัปดาห์! มันฝรั่งทอด ข้าวโพดคั่ว พาสต้า ขนมกรุปกรอบ ข้าวขาว ขนมปัง แป้งขัดขาว เค๊ก เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำหน้าที่ในร่างกายเช่นเดียวกับที่น้ำตาลทำ เมื่อคุณมองภาพรวมของ PCOS คุณจะสามารถเข้าใจได้ว่าทำไมยาบล๊อคฮอร์โมนและยาลดระดับอินซูลินจึงไม่มีประสิทธิภาพในระยะยาว วิธีการเหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา... พวกเขาเพียงปราบปรามอาการ... การปรับปรุงเป็นเพียงชั่วคราวและทั้งสองประเภทของยามีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อย่างที่คุณจินตนาการไปไม่ถึง ในทำนองเดียวกันคุณไม่สามารถใช้เพียงแค่การกินโพรเสจเตอโรนแต่ไม่ตัดน้ำตาลออกจากอาหาร คุณจะต้องทำทั้งสองอย่างร่วมกับการออกกำลังกายและโภชนาการที่ดี มันเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษาความสมดุลของฮอร์โมนและถ้าคุณสนใจมากกว่านี้..หนังสือเล่มนี้คือที่สุดของที่สุด ... What Your Doctor May Not Tell You About Premenopause.. ...การรักษา PCOS ถ้าระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นทุกเดือนในช่วง luteal phase (ช่วงระยะหลังไข่ตก..กินเวลาประมาณสองสัปดาห์) ของวัฏจักรตามที่ควรจะเป็น สิ่งนี้จะเก็บรูปแบบตามปกติในแต่ละเดือนและ PCOS จะไม่ค่อยเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นเลย โพรเจสเตอโรนธรรมชาติควรเป็นพื้นฐานสำคัญของการรักษา PCOS พร้อมทั้งต้องให้ความสำคัญกับความเครียด การออกกำลังกายและโภชนาการที่ดี หากคุณมี PCOS คุณสามารถทานเมล็ดฟักทองแกะเปลือก 15 ถึง 20 มิลลิกรัมได้วันเว้นวันตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 28 ของรอบเดือนของคุณ หากคุณมีรอบที่ยาวขึ้นหรือสั้นลงให้ปรับตามที่เห็นสมควร การหายไปของเส้นขนและสิวมักเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าฮอร์โมนมีความสมดุล แต่เพื่อดูผลลัพธ์เหล่านี้คุณจะต้องทำอย่างเอาจริงเอาจังเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีและการออกกำลังกายที่เหมาะสมและถ้าอาการของคุณจางหายไปให้ลองค่อยๆลดจำนวนการกินเมล็ดฟักทองลงมาเหลือครึ่งหนึ่งเพื่อดูว่ามันเป็นอย่างไร ถ้าอาการของคุณกลับคืนมา..ให้กินเต็มจำนวนเช่นเดิมเป็นเวลา 6 เดือน !! ทำไมแพทย์คิดเรื่องนี้ไม่ออก มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้แพทย์ไม่ตระหนักถึงบทบาทของการขาดโพรเสจเตอโรนใน PCOS พวกเขาอาจไม่ทราบว่าสมองส่วนไฮโปทาลามัสตอบสนองไม่เพียงแต่การเพิ่มขึ้นและลดลงของเอสโตรเจน แต่ยังมีบทบาทต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของโพรเจสเตอโรน เนื่องจากการทดสอบตามมาตรฐานมักระบุว่าหญิงที่มี PCOS มีเอสโตรเจนอยู่มากและเธอยังคงมีประจำเดือนอยู่เรื่อย ๆ แพทย์เลยถือว่าเธอยังคงปล่อยไข่อยู่และมีปริมาณโพรเจเตอโรนที่มากเช่นกัน !! เรื่องน่าเศร้า.. อัตราการมีภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนเกินขนาดและการขาดฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 ในประชากรหญิงเมื่ออายุ 35 ปีแต่แพทย์ยังไม่ค่อยมีการวัดความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน พวกเขาอาจกลัวการให้โพรเจสเตอโรนสังเคราะห์เนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดจาก โพรเจสติน (progestins) และอาจไม่ทราบว่าโพรเจสเตอโรนตามธรรมชาติแตกต่างจาก progestins สังเคราะห์เป็นอย่างมากและไม่มีผลข้างเคียงเมื่อให้ในปริมาณปกติ !! สิ่งที่ออกฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน -ถั่วเหลืองและผลิตภัณฆ์ที่ไม่ผ่านการหมักและไม่ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส -น้ำมะพร้าว -กวาวเครือ -กระเจี๊ยบแดง -น้ำยาปรับผ้านุ่ม -น้ำยาขัดหนัง -น้ำยาล้างห้องน้ำ และถ้าคุณมีปัญหา PCOS ลองวิธีนี้ไปสัก 6 เดือนและรอดูผลก่อนการใช้มีด..กรีด ขอขอบคุณ : -#สตรีมเอ็นท์ ที่เตือนสติให้เขียนเรื่องนี้เมื่อเวลา 15.03 น.5/6/2560 - หนังสือดี ๆ ที่มีให้อ่านบนโลกใบนี้ - ผู้ป่วยที่กระตุ้นเตือนให้หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ด้วยรักและห่วงใยจากใจจริง สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น