รายการ “หมอนอกกะลา” ตอน ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
หลายท่านเบื่อกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองบ่อย ๆจนกังวล และอาจไม่ทราบสาเหตุของอาการ แล้วก็ไปหายามาแก้อาการ และก็ยังคงไม่แน่ใจว่าจะดีขึ้นหรือไม่แต่ขอกินไว้ก่อนโดยไม่ทราบผลข้างเคียงของยา เพราะใครไม่บอกให้ทราบ มาครับมาวินิจฉัยด้วยตัวเองกันเพราะผมคิดว่าหมอที่สุดในโลกก็คือผู้ป่วยนี้แหละครับและไม่เรียกว่าโรคครับเพราะมันไม่ใช่โรค
ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
คือภาวะที่ความดันโลหิต ตัวบน(Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตตัวล่าง(Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดัน ตัวบนหรือ ตัวล่าง ตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ครับ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุครับมาดูกัน
สาเหตุและกลไกให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีกลไกการเกิดดังนี้
• ปริมาณน้ำ ของเหลว และ/หรือเลือด ในการไหลเวียนลดลง จึงมีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง หัวใจจึงเต้นบีบตัวลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เช่น
• ภาวะขาดน้ำ และ/หรือขาดเกลือแร่
• ภาวะเลือดออกรุนแรง
• ภาวะร่างกายเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรงหรือจากมีแผลไหม้รุนแรง
• การลุกขึ้นทันทีจากท่านอนโดยเฉพาะเมื่อนอนนานๆ เมื่อไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อนั่งนานๆ (ปริมาณเลือดจะคั่งที่ขา เมื่อลุกขึ้นทันที เลือดจึงไหลกลับหัวใจได้น้อย ความดันโลหิตจึงต่ำลงทันที) ซึ่งกลไกนี้ พบเป็นสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากไม่ค่อยดื่มน้ำ และเรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า (Postural or Orthostatic hypotension)
• ภาวะโลหิตจาง เพราะส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ส่งผลให้ปริมาตรในภาพรวมของเลือดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
• ในบางคนภายหลังกินอาหารมื้อหลักปริมาณสูงมาก จึงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดภาวะคล้ายมีเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานเพิ่มขึ้น จึงขาดปริมาณเลือดโดยรวมในการไหลเวียนในกระแสโลหิต เลือดจึงกลับเข้าหัวใจน้อยลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Postprandial hypotension
• จากโรคของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด และการบีบตัวของหัวใจ จึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยาย เลือดจึงคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น การไหลเวียนโลหิตจึงลดลง เลือดกลับเข้าหัวใจลดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคความจำเสื่อมบางชนิด ซึ่งเรียก ภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurogenic orthostatic hypotension
• จากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อมๆกัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
• จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่างๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที และร่วมกับมีของเหลว/น้ำในเลือดซึมออกนอกหลอดเลือด จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ความดันโลหิตจึงต่ำลง เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Anaphylaxis
• จากโรคหัวใจ หัวใจจึงบีบตัวเต้นผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
• จากการตั้งครรภ์ มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากการที่ต้องเพิ่มเลือดหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนโลหิต หรือปริมาตรโลหิตในมารดาจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ แต่ร่างกายมารดามักปรับตัวได้เองเสมอเมื่อมารดามีสุขภาพแข็งแรง
• จากโรคของต่อมไร้ท่อซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงาน ของหัวใจ ของหลอดเลือด และของเกลือแร่ต่างๆที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนโลหิต จึงเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในโรคเบาหวาน
• ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาไวอะกร้า (Viagra) หรือ ยาทางจิตเวชบางชนิด
• จากมีการกระตุ้นวงจรประสาทอัตโนมัติและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งเมื่อเกิดการกระตุ้นวงจรนี้ จะส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจทำ งานผิดปกติ ความดันโลหิตจึงต่ำลงได้ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurally mediated hypotension เช่น จากอารมณ์/จิตใจ (กลัวมาก ตกใจ เห็นภาพสยดสยอง หรือ เจ็บ/ปวดมาก) จากการยืน หรือ นั่งไขว่ห้างนานๆ การอยู่ในที่แออัด และ/หรืออบอ้าว การอาบ น้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
• ผู้สูงอายุ จากดื่มน้ำน้อย และจากไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
• ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคของต่อมไทรอยด์และภาวะซีด
• กินยาบางชนิดโดยเฉพาะ ยาขับน้ำ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
• มีภาวะขาดน้ำ จากสาเหตุต่างๆ เช่น ท้องเสีย หรือ อาเจียน รุนแรง หรือภาวะลมแดด
อาการภาวะความดันโลหิตต่ำ
อาการพบบ่อยของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ
• วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
• ตาลาย
• คลื่นไส้ อาจอาเจียน
• มือ เท้าเย็น
• เหงื่อออกมาก
• ชีพจรเบา เต้นเร็ว
• หายใจเร็ว เหนื่อย
• กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
• บางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
• อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ
• อาจชัก
• หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก
การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำวินิจฉัยได้จาก การวัดความดันโลหิต และวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ หรือ การกินอาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น กับอาการ และอาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน เป็นต้น
การบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ
แนวทางการบำบัด ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ ง่ายๆแค่นี้ครับ เช่น
ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
การให้เลือดเมื่อเสียเลือดมาก
การดื่มไวน์เพื่อเพิ่มความดันโลหิต
การออกกำลังกาย
การกินอาหารฤทธิ์ร้อนเพิ่ม และลดอาหารฤทธิ์เย็นลง(อันนี้หาอ่านได้ โพสต์ไว้แล้วครับ)
นอกจากนั้น ก็ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตต่ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตต่ำมักไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อน ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น
เมื่อเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงต่ำ
เมื่อเกิดจากเสียน้ำ เสียเลือดมาก ความรุนแรงสูงขึ้น
หรือเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงจะสูงมาก
ผลข้างเคียงจากภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ สมองขาดเลือด อาจหมดสติ จึงเกิดการล้ม หรือ การชักได้ อันนี้อันตรายครับ
แล้วต้องดูแลตนเองอย่างไร? ควรไปตรวจเมื่อไร?
การดูแลตนเอง
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
• เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
อย่านอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
• ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด
• เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้องค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
• หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด และไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือด จึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
• ถ้ากินยาต่างๆต้องมั่นใจว่าถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่ทุกตัว
• กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป
• ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
• ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ
และเมื่อมีอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
o อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
o เมื่อกังวลในอาการ
ก็ควรต้องไปตรวจหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ นะครับ
อาหารสำหรับผู้มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
ควรประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูง ย่อยได้ง่ายและรวดเร็ว ที่ต้องรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูงก็เพื่อสะสมพลังงานให้ร่างกาย สามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรรับประทานอาหารจำพวกกาแฟและขนมปังต่างๆ
ควรจะรับประทานอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้นให้มากๆ สำหรับท่านที่เป็นชีวจิตหรือมังสวิรัติ ก็เพิ่ม ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วเขียว และผลิตผลจากถั่ว แต่ถั่วเหลืองยังคงยืนยันคำเดิมว่าไม่ควรรับประทาน
ทานสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเลือด เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นความดันต่ำจะมีเลือดน้อย จึงต้องบำรุงและเพิ่มเลือดอย่างรวดเร็วดังนี้
1.ดอกคำฝอย มีสรรพคุณช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น, ช่วย สลายลิ่มเลือด ลดคอเลสเตอรอล
2.ฝาง มีรสขื่นปนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
3.ว่านสบู่เลือด เป็นว่านตระกูลเดียวกับว่านชักมดลูก มีสรรพคุณทางเภสัชชั้นยอด เป็นยาบำรุงเซลล์สมองและบำรุงปลายเส้นประสาทได้ ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นโรคความจำเสื่อม
4.ผักเป็ดแดง ใช้ทั้งต้นทั้งรากเป็นยาดับพิษโลหิต ฟอกโลหิตและเป็นยาระบายอ่อนๆ ทั้งฟอกและบำรุงโลหิตสตรี
5.กรักขี ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง แก่นแดงๆ เสี้ยนดำๆ
6.เถาคันแดง ใช้ส่วนของเถาปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกระษัย ทำให้เส้นหย่อนเป็นยาขับลมขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด
7.กะเพราแดง สรรพคุณแก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ
8.เทียนแดง สรรพคุณขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ รักษาตาเจ็บ แก้สะอึก สมานบาดแผล แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้เจ็บคอ รักษากามโรค แก้ปวดท้อง แก้ผิวหนังอักเสบ
9.โกฐหัวบัว สรรพคุณตามยาแผนโบราณของ โกฐหัวบัวคือ หัว แก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำไส้ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ขับลม แก้ลม บำรุงโลหิต แก้เสมหะ
10.สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว 2 ชนิด ได้แก่ รกมะดัน, ใบมะขามอ่อน หรือพืชที่จัดว่าเป็นพืชตำรับเปรี้ยวก็ได้
หลังจากนั้นให้นำสมุนไพรทั้งหมดมาบดหรือต้มรวมกันเพื่อรับประทาน สำหรับการรับประทานนั้นมี 2 วิธีด้วยกันคือ
1.บดเป็นผงแล้ว นำมาอัดใส่แคปซูล ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น รับประทานครั้งละ 3-4 แคปซูล
2.รับประทานแบบต้ม โดยให้ต้มสมุนไพรทั้งหมดกับ น้ำ 3 ลิตร ต้มให้เหลือเพียง 1 ลิตร รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยรับประทานครั้งละ 30 cc. (1 แก้วชอร์ต)
รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีเพิ่มขึ้น มันก็อยู่ในนี้ครับ
วิตามินบี1 มีมากในอาหารประเภทข้าวซ้อมมือ ตับ ไข่ ถั่ว มันเทศ
วิตามินบี2 มีมากในอาหารประเภทไข่ ผัก
วิตามินบี3 มีมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี
วิตามินบี6 มีมากในอาหารประเภทนม ตับ เนื้อ ถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ
วิตามินบี12มีมากในอาหารประเภทไข่ เนยแข็ง ตับ เนื้อสัตว์
สรุปแล้ววิตามินบีมีมากในอาหารประเภทโปรตีน โดยเฉพาะตับและถั่ว
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้ได้อย่างน้อย 1,500 มก. แม็กนีเซียมอย่างน้อย 1000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. ต่อวัน
อันนี้โพสต์ไว้แล้วหาอ่านได้ครับ
รับประทานอาหารที่มีวิตามินอี ให้ได้ อย่างน้อย 400 IU. ต่อวันและมันก็อยู่ในอาหารเช่นกัน
น้ำมันจมูกข้าวสาลี อัลมอนด์คั่วแห้ง เมล็ดทานตะวันคั่วแห้ง น้ำมันดอกทานตะวัน
น้ำมันดอกคำฝอย เฮเซลนัทคั่วแห้ง เนยถั่วลิสง ถั่วลิสงคั่วแห้ง น้ำมันข้าวโพด
เมนูพิเศษสุด รายการ “ครัวคุณไฝ” ฝากมาครับ สงสัยไม่อยากเสียค่าโฆษณา
เครื่องดื่มสมุนไพร "พริกไทย" แก้ความดันต่ำ
"พริกไทย" ชนิดแห้ง 15 กรัม + ผงดีปลีเปล่า 15 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร พอเดือด ดื่มขณะอุ่น 2 เวลาเช้า-เย็นก่อนอาหาร ต้มดื่มไปเรื่อยๆจนกว่าอาการความดันต่ำจะดีขึ้น หรือเข้าสู่สภาวะปกติจึงหยุดต้มดื่ม วันไหนที่เกิดอาการความดันต่ำขึ้นมาอีก ก็ต้มดื่มได้อีก พริกไทยที่เราคุ้นเคยนั้น แต่ละส่วนของต้นพริกไทยมีสรรพคุณหลายอย่างครับ
ใบ - แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนท้อง
ดอก - รสร้อน แก้ตาแดง เนื่องจากความดันโลหิตสูง
เมล็ด - รสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมในท้อง บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้เสมหะ แก้มุตกิด
เถา - รสร้อน แก้อุระเสมหะ (เสมหะในอก)
ราก - รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร
ทำไห้ได้บางส่วนก็พอครับไม่ต้องเอาจริงเอาจังไปเสียทั้งหมดแล้วเฝ้าติดตามผล ไม่นานก็เป็นปรกติครับ ก่อนลาก็ขอให้ทุกคนทุกท่านมีสุขภาพดีถ้วนหน้านะครับ สวัสดีครับ
หลายท่านเบื่อกับอาการที่เกิดขึ้นกับตัวเองบ่อย ๆจนกังวล และอาจไม่ทราบสาเหตุของอาการ แล้วก็ไปหายามาแก้อาการ และก็ยังคงไม่แน่ใจว่าจะดีขึ้นหรือไม่แต่ขอกินไว้ก่อนโดยไม่ทราบผลข้างเคียงของยา เพราะใครไม่บอกให้ทราบ มาครับมาวินิจฉัยด้วยตัวเองกันเพราะผมคิดว่าหมอที่สุดในโลกก็คือผู้ป่วยนี้แหละครับและไม่เรียกว่าโรคครับเพราะมันไม่ใช่โรค
ภาวะ ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
คือภาวะที่ความดันโลหิต ตัวบน(Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตตัวล่าง(Diastolic blood pressure) ต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตต่ำอาจต่ำเพียงความดัน ตัวบนหรือ ตัวล่าง ตัวใดตัวหนึ่ง หรือต่ำทั้งสองตัวก็ได้ครับ
ภาวะความดันโลหิตต่ำ พบเกิดได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุครับมาดูกัน
สาเหตุและกลไกให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีกลไกการเกิดดังนี้
• ปริมาณน้ำ ของเหลว และ/หรือเลือด ในการไหลเวียนลดลง จึงมีเลือดกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง หัวใจจึงเต้นบีบตัวลดลง ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง เช่น
• ภาวะขาดน้ำ และ/หรือขาดเกลือแร่
• ภาวะเลือดออกรุนแรง
• ภาวะร่างกายเสียน้ำจากท้องเสียรุนแรงหรือจากมีแผลไหม้รุนแรง
• การลุกขึ้นทันทีจากท่านอนโดยเฉพาะเมื่อนอนนานๆ เมื่อไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเมื่อนั่งนานๆ (ปริมาณเลือดจะคั่งที่ขา เมื่อลุกขึ้นทันที เลือดจึงไหลกลับหัวใจได้น้อย ความดันโลหิตจึงต่ำลงทันที) ซึ่งกลไกนี้ พบเป็นสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากไม่ค่อยดื่มน้ำ และเรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า (Postural or Orthostatic hypotension)
• ภาวะโลหิตจาง เพราะส่งผลให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงจากปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลง ส่งผลให้ปริมาตรในภาพรวมของเลือดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง
• ในบางคนภายหลังกินอาหารมื้อหลักปริมาณสูงมาก จึงส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหาร และลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดภาวะคล้ายมีเลือดคั่งในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานเพิ่มขึ้น จึงขาดปริมาณเลือดโดยรวมในการไหลเวียนในกระแสโลหิต เลือดจึงกลับเข้าหัวใจน้อยลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Postprandial hypotension
• จากโรคของประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด และการบีบตัวของหัวใจ จึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดขยาย เลือดจึงคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้น การไหลเวียนโลหิตจึงลดลง เลือดกลับเข้าหัวใจลดลง จึงส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และโรคความจำเสื่อมบางชนิด ซึ่งเรียก ภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurogenic orthostatic hypotension
• จากภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสโลหิต/เลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นพร้อมๆกัน รวมทั้งเกิดการล้มเหลวในการทำงานของหัวใจและปอด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
• จากการแพ้ยา หรือแพ้อาหาร หรือแพ้สารต่างๆอย่างรุนแรง ส่งผลให้หลอดเลือดทั่วตัวขยายตัวทันที และร่วมกับมีของเหลว/น้ำในเลือดซึมออกนอกหลอดเลือด จึงเกิดการขาดเลือดไหลเวียนในกระแสโลหิต ความดันโลหิตจึงต่ำลง เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Anaphylaxis
• จากโรคหัวใจ หัวใจจึงบีบตัวเต้นผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันเลือดต่ำ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
• จากการตั้งครรภ์ มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากการที่ต้องเพิ่มเลือดหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ การไหลเวียนโลหิต หรือปริมาตรโลหิตในมารดาจึงลดลง ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ แต่ร่างกายมารดามักปรับตัวได้เองเสมอเมื่อมารดามีสุขภาพแข็งแรง
• จากโรคของต่อมไร้ท่อซึ่งสร้างฮอร์โมนควบคุมการทำงาน ของหัวใจ ของหลอดเลือด และของเกลือแร่ต่างๆที่เป็นตัวอุ้มน้ำในหลอดเลือด จึงส่งผลถึงการไหลเวียนโลหิต จึงเกิดความดันโลหิตต่ำได้ เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ โรคของต่อมหมวกไต หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในโรคเบาหวาน
• ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาขับน้ำ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาไวอะกร้า (Viagra) หรือ ยาทางจิตเวชบางชนิด
• จากมีการกระตุ้นวงจรประสาทอัตโนมัติและสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งเมื่อเกิดการกระตุ้นวงจรนี้ จะส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจทำ งานผิดปกติ ความดันโลหิตจึงต่ำลงได้ เรียกภาวะความดันโลหิตต่ำจากกลไกนี้ว่า Neurally mediated hypotension เช่น จากอารมณ์/จิตใจ (กลัวมาก ตกใจ เห็นภาพสยดสยอง หรือ เจ็บ/ปวดมาก) จากการยืน หรือ นั่งไขว่ห้างนานๆ การอยู่ในที่แออัด และ/หรืออบอ้าว การอาบ น้ำอุณหภูมิอุ่นจัด หรือการหยุดพักทันทีขณะออกกำลังกายอย่างหนัก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
• ผู้สูงอายุ จากดื่มน้ำน้อย และจากไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
• ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคของต่อมไทรอยด์และภาวะซีด
• กินยาบางชนิดโดยเฉพาะ ยาขับน้ำ ยาโรคความดันโลหิตสูง และยาโรคเบาหวาน
• มีภาวะขาดน้ำ จากสาเหตุต่างๆ เช่น ท้องเสีย หรือ อาเจียน รุนแรง หรือภาวะลมแดด
อาการภาวะความดันโลหิตต่ำ
อาการพบบ่อยของภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ
• วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม
• ตาลาย
• คลื่นไส้ อาจอาเจียน
• มือ เท้าเย็น
• เหงื่อออกมาก
• ชีพจรเบา เต้นเร็ว
• หายใจเร็ว เหนื่อย
• กระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
• บางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
• อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว หน้า ตัวบวม เมื่อเกิดจากการแพ้สิ่งต่างๆ
• อาจชัก
• หมดสติ เมื่อความดันโลหิตต่ำมาก
การวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตต่ำ
ภาวะความดันโลหิตต่ำวินิจฉัยได้จาก การวัดความดันโลหิต และวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติกินยาต่างๆ หรือ การกินอาหาร หรือถูกสัตว์/แมลงต่อย การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมต่างๆ ทั้งนี้ขึ้น กับอาการ และอาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือการตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลเมื่อสงสัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากโรคเบาหวาน เป็นต้น
การบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ
แนวทางการบำบัด ภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ การเพิ่มความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามสาเหตุ ง่ายๆแค่นี้ครับ เช่น
ให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำเมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำ
การให้เลือดเมื่อเสียเลือดมาก
การดื่มไวน์เพื่อเพิ่มความดันโลหิต
การออกกำลังกาย
การกินอาหารฤทธิ์ร้อนเพิ่ม และลดอาหารฤทธิ์เย็นลง(อันนี้หาอ่านได้ โพสต์ไว้แล้วครับ)
นอกจากนั้น ก็ การรักษาสาเหตุ เช่น รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปรับยาเบาหวานเมื่ออาการเกิดจากโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตต่ำรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตต่ำมักไม่รุนแรง คนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตต่ำ และเมื่อมีอาการ ภายหลังการพักผ่อน ผู้ป่วยมักกลับมามีความดันโลหิตปกติได้
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตต่ำ ขึ้นกับสาเหตุ เช่น
เมื่อเกิดจากดื่มน้ำน้อย ความรุนแรงต่ำ
เมื่อเกิดจากเสียน้ำ เสียเลือดมาก ความรุนแรงสูงขึ้น
หรือเมื่อเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงจะสูงมาก
ผลข้างเคียงจากภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ สมองขาดเลือด อาจหมดสติ จึงเกิดการล้ม หรือ การชักได้ อันนี้อันตรายครับ
แล้วต้องดูแลตนเองอย่างไร? ควรไปตรวจเมื่อไร?
การดูแลตนเอง
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม
• เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
อย่านอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
• ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด
• เมื่อจะเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนอนเป็นยืน โดยเฉพาะผู้สูงอายุต้องค่อยๆเปลี่ยนท่าทาง จากนอนอาจต้องลุกนั่งพักสักครู่ก่อนแล้วจึงยืน จากนั่งอาจต้องยืนยึดจับสิ่งยึดเหนี่ยวให้มั่นคงก่อน จึงก้าวเดิน
• หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพ อาจต้องใส่ถุงน่องช่วยพยุงหลอดเลือดไม่ให้เกิดการแช่ค้างของเลือด และไม่นั่งไขว่ห้างนานๆ เพื่อลดการเบียดทับหลอดเลือด จึงเพิ่มการไหลเวียนเลือด
• ถ้ากินยาต่างๆต้องมั่นใจว่าถูกต้อง และรู้จักผลข้างเคียงของยาที่กินอยู่ทุกตัว
• กินอาหารแต่ละมื้ออย่าให้ปริมาณมากเกินไป
• ต้องจำให้ได้ว่าแพ้อะไร เพื่อการหลีกเลี่ยง
• ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ
และเมื่อมีอาการของภาวะความดันโลหิตต่ำบ่อยๆ อาการต่างๆเลวลง หรือ ไม่ดีขึ้นหลังดูแลตนเอง
o อาการต่างๆรุนแรง โดยเฉพาะอาการทางการหายใจ และการแน่นเจ็บหน้า อก เพราะอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
o เมื่อกังวลในอาการ
ก็ควรต้องไปตรวจหาสาเหตุ เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ นะครับ
อาหารสำหรับผู้มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
ควรประทานอาหารที่มีคุณค่าให้ครบทั้ง 5 หมู่ และรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูง ย่อยได้ง่ายและรวดเร็ว ที่ต้องรับประทานอาหารที่มีแคลอรีสูงก็เพื่อสะสมพลังงานให้ร่างกาย สามารถนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ควรรับประทานอาหารจำพวกกาแฟและขนมปังต่างๆ
ควรจะรับประทานอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้นให้มากๆ สำหรับท่านที่เป็นชีวจิตหรือมังสวิรัติ ก็เพิ่ม ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วขาว ถั่วเขียว และผลิตผลจากถั่ว แต่ถั่วเหลืองยังคงยืนยันคำเดิมว่าไม่ควรรับประทาน
ทานสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเลือด เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นความดันต่ำจะมีเลือดน้อย จึงต้องบำรุงและเพิ่มเลือดอย่างรวดเร็วดังนี้
1.ดอกคำฝอย มีสรรพคุณช่วยให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น, ช่วย สลายลิ่มเลือด ลดคอเลสเตอรอล
2.ฝาง มีรสขื่นปนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน แก้ปอดพิการ ขับหนอง แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา
3.ว่านสบู่เลือด เป็นว่านตระกูลเดียวกับว่านชักมดลูก มีสรรพคุณทางเภสัชชั้นยอด เป็นยาบำรุงเซลล์สมองและบำรุงปลายเส้นประสาทได้ ซึ่งจะทำให้ไม่เป็นโรคความจำเสื่อม
4.ผักเป็ดแดง ใช้ทั้งต้นทั้งรากเป็นยาดับพิษโลหิต ฟอกโลหิตและเป็นยาระบายอ่อนๆ ทั้งฟอกและบำรุงโลหิตสตรี
5.กรักขี ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง แก่นแดงๆ เสี้ยนดำๆ
6.เถาคันแดง ใช้ส่วนของเถาปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกระษัย ทำให้เส้นหย่อนเป็นยาขับลมขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด
7.กะเพราแดง สรรพคุณแก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ
8.เทียนแดง สรรพคุณขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ รักษาตาเจ็บ แก้สะอึก สมานบาดแผล แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้เจ็บคอ รักษากามโรค แก้ปวดท้อง แก้ผิวหนังอักเสบ
9.โกฐหัวบัว สรรพคุณตามยาแผนโบราณของ โกฐหัวบัวคือ หัว แก้ลมในกองริดสีดวง ขับลมในลำไส้ ไม่ระบุส่วนที่ใช้ขับลม แก้ลม บำรุงโลหิต แก้เสมหะ
10.สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว 2 ชนิด ได้แก่ รกมะดัน, ใบมะขามอ่อน หรือพืชที่จัดว่าเป็นพืชตำรับเปรี้ยวก็ได้
หลังจากนั้นให้นำสมุนไพรทั้งหมดมาบดหรือต้มรวมกันเพื่อรับประทาน สำหรับการรับประทานนั้นมี 2 วิธีด้วยกันคือ
1.บดเป็นผงแล้ว นำมาอัดใส่แคปซูล ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น รับประทานครั้งละ 3-4 แคปซูล
2.รับประทานแบบต้ม โดยให้ต้มสมุนไพรทั้งหมดกับ น้ำ 3 ลิตร ต้มให้เหลือเพียง 1 ลิตร รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยรับประทานครั้งละ 30 cc. (1 แก้วชอร์ต)
รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีเพิ่มขึ้น มันก็อยู่ในนี้ครับ
วิตามินบี1 มีมากในอาหารประเภทข้าวซ้อมมือ ตับ ไข่ ถั่ว มันเทศ
วิตามินบี2 มีมากในอาหารประเภทไข่ ผัก
วิตามินบี3 มีมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลี
วิตามินบี6 มีมากในอาหารประเภทนม ตับ เนื้อ ถั่วลิสง ข้าวซ้อมมือ
วิตามินบี12มีมากในอาหารประเภทไข่ เนยแข็ง ตับ เนื้อสัตว์
สรุปแล้ววิตามินบีมีมากในอาหารประเภทโปรตีน โดยเฉพาะตับและถั่ว
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้ได้อย่างน้อย 1,500 มก. แม็กนีเซียมอย่างน้อย 1000 มก. และโปแตสเซียม 500 มก. ต่อวัน
อันนี้โพสต์ไว้แล้วหาอ่านได้ครับ
รับประทานอาหารที่มีวิตามินอี ให้ได้ อย่างน้อย 400 IU. ต่อวันและมันก็อยู่ในอาหารเช่นกัน
น้ำมันจมูกข้าวสาลี อัลมอนด์คั่วแห้ง เมล็ดทานตะวันคั่วแห้ง น้ำมันดอกทานตะวัน
น้ำมันดอกคำฝอย เฮเซลนัทคั่วแห้ง เนยถั่วลิสง ถั่วลิสงคั่วแห้ง น้ำมันข้าวโพด
เมนูพิเศษสุด รายการ “ครัวคุณไฝ” ฝากมาครับ สงสัยไม่อยากเสียค่าโฆษณา
เครื่องดื่มสมุนไพร "พริกไทย" แก้ความดันต่ำ
"พริกไทย" ชนิดแห้ง 15 กรัม + ผงดีปลีเปล่า 15 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร พอเดือด ดื่มขณะอุ่น 2 เวลาเช้า-เย็นก่อนอาหาร ต้มดื่มไปเรื่อยๆจนกว่าอาการความดันต่ำจะดีขึ้น หรือเข้าสู่สภาวะปกติจึงหยุดต้มดื่ม วันไหนที่เกิดอาการความดันต่ำขึ้นมาอีก ก็ต้มดื่มได้อีก พริกไทยที่เราคุ้นเคยนั้น แต่ละส่วนของต้นพริกไทยมีสรรพคุณหลายอย่างครับ
ใบ - แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนท้อง
ดอก - รสร้อน แก้ตาแดง เนื่องจากความดันโลหิตสูง
เมล็ด - รสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมในท้อง บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้เสมหะ แก้มุตกิด
เถา - รสร้อน แก้อุระเสมหะ (เสมหะในอก)
ราก - รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร
ทำไห้ได้บางส่วนก็พอครับไม่ต้องเอาจริงเอาจังไปเสียทั้งหมดแล้วเฝ้าติดตามผล ไม่นานก็เป็นปรกติครับ ก่อนลาก็ขอให้ทุกคนทุกท่านมีสุขภาพดีถ้วนหน้านะครับ สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น