เล่าเคส การวินิจฉัย และ การบำบัด (หมอนอกกะลา)
และเปลี่ยนคำว่า You are what you eat เป็น You are what you absorbed มาดูกัน
มีรถตู้มาจอดหน้าบ้านผม และมีคนช่วยหามยายคนหนึ่งลงมาจากรถ ผมเลยต้องรีบจัดเตรียมที่ให้คุณยายนอนพักโดยด่วน พอผมเห็นยายปุ๊ป ก็วินิจฉัยได้ปั๊บ ว่า ทุพโภชนาการ
ลูก ๆ บอกว่าไปนอนมาแทบทุกโรงพยาบาล จนต้องปล่อยให้กลับมาตายที่บ้าน (เศร้ามั๊ยครับ) แต่ลูกท่านหนึ่งมีเพื่อนเป็นผู้ป่วยผม เลยตัดสินใจเสี่ยงดู เขาพูดอย่างนั้นนะ (ฟังแล้วก็เคือง ๆ นะ เหมือนดูถูกยังไงไม่รุ) ก็มีการซักประวัติกันยาวนานมาก อาหารก็กินอาหารได้ปกติ และอาหารก็ดีสำหรับสุขภาพทั้ง
นั้นแต่ตัวซีด ไม่มีแรง มึนศีรษะ มือเท้าชา ผมขอดูผลการตรวจ ก็ไม่เลวสำหรับคนอายุ 76 ปี ผมคิดในใจ ลำไส้แหง ๆ เลยถามว่า ทานยาต้ม ยาสมุนไพรมานานหรือยัง ลูก ๆ ทำเป็นงง ว่าผมรู้ได้อย่างไร คำตอบคือ ราว 20 ปี เลยอธิบายไปว่า สำไส้มีผนังเป็นไขมันพอทานยาต้มซึ่งมีตะกอนที่จับกับไขมันได้ อาหารก็ผ่านลำไส้ยาก เอาของเสียออกก็ยาก ก็เลยเป็นเช่นนี้ และสะสมตั้ง 20 ปีคิดดูเอาเอง ผมเลยจัด Soluble fiber เพื่อล้างลำไส้ให้ 5 ซอง ซองละ 80 บาท แล้วบอกไปว่าแค่นี้แหละ รับรองวิ่งปร๋อ ทุกคนงง และพายายกลับบ้านแบบ คงคิดว่าไอ้นี่บ้า แหงๆ ผมก็ยาว หนวดเคราเฟิ้ม แต่ก็กลับ ผมก็นั้งอมยิ้มตอนเขาหามยายขึ้นรถ
5 วันต่อมา รถตู้คันเดิม มาจอดที่หน้าบ้าน คนเต็มรถเลย ทุกคนรีบเดินมาหาผม เล่นเอาผมตกใจหมดเลย พวกเขายกมือไหว้ทั้งที่ผมอายุน้อยกว่า แล้วมีคนหนึ่งตะโกนไปที่รถ ว่า “แม่ลงมาขอบใจหมอเค้าหน่อยซิ” ยายคนนั้นเดินมาด้วยหน้าตายิ้มแย้มตรงมาที่ผม นั่งลงแล้วประนมมือวางลงที่อกผม “ไอ้ลูกบาวเห้อ กูไม่รู้อิขอบคุณมึ๊งพันปรือดี”
นี่เป็นเคสที่น่าขำที่สุดในชีวิตผม เรื่องมันง่ายครับ ถ้าไม่มีการแบ่งการรักษาเป็นแบบเฉพาะทางไปซะหมด เพราะร่างกายต้องมองที่ภาพรวมเสมอครับ งั้นมาดูว่าทำไมผมถึงวินิจฉัยอย่างนั้น
ลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างของลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็กของคนมีลักษณะคล้ายท่อขดไปมาอยู่ในช่องท้องแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ดูโอดีนัม (Duodenum) ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีรูปร่างเหมือนตัวยูคลุมอยู่รอบๆบริเวณส่วนหัวของตับอ่อน (Pancreas) ภายในดูโอดีนัมมีต่อมสร้างน้ำย่อยและเป็นตำแหน่งที่ของเหลวจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับมาเปิดเข้า จึงเป็นตำแหน่งที่มีการย่อยเกิดขึ้นมากที่สุด
เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 2 ใน 6 ของลำไส้เล็กหรือประมาณ 3-4 เมตร
ไอเลียม (Ileum) เป็นลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายปลายสุดของไอเลียมต่อกับลำไส้ใหญ่ บริเวณลำไส้ตอนต้น (Duodenum) จะมีน้ำย่อยจากสามแหล่งมาผสมกับไคม์Chyme = อาหารที่คลุกเคล้ากับน้ำย่อยและถูกย่อยไปบางส่วน มีลักษณะคล้ายซุปข้นๆ) ได้แก่น้ำย่อยจากผนังลำไส้เล็ก (Intestinal Juice)น้ำย่อยจากตับอ่อน (Pancreatic Juice)น้ำดี (Bile) จากตับ (Liver) (ซึ่งนำมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก (Intestinal Juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากผนังของลำไส้เล็กเอง ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้
ไดเปปดิเดส (Dipeptidase)ย่อยDipeptide ได้ Amino Acid
มอลเทส (Maltase) ย่อย Maltose ได้ Glucose + Glucese
ซูเครส (Sucraes) ย่อย Sucrose ได้Glucose + Fructise
แลกเตส (Lactaes) ย่อย Lactose ได้Glucose + Galactose
ไลเปส (Lipaes) ย่อย Fat ได้Fatty Acid + Glycerol
นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายเปปไตด์ (Peptide)จนได้ Amino Acid เช่น Carboxypeptidase และ Aminopeptidase
การควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของลำไส้เล็ก ลำไส้เล็ก จะหลั่งน้ำย่อยออกมาอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS = Automatic Nervous System) ชนิด Parasympathetic Nerve หรือเป็นประสาทสมองคู่ที่ 10 (Vagus Nerve)
การย่อยอาหารในลำไส้เล็กมี 2 วิธี
การย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) มีแบบสำคัญคือ
1. การหดตัวเป็นจังหวะ (Rhythmic Segmentation) เป็นการหดตัวที่ช่วยให้อาหารผสมคลุกเคล้ากับน้ำย่อย หรือช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนที่ไปยังทางเดินอาหารส่วนถัดไป อาจมีจังหวะเร็ว 15-20 ครั้ง/นาที หรือช้า 2-3 ครั้ง/นาที
2. เพอริสตัลซิส (Peristalsis)เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน การเคลื่อนไหวแบบนี้จะช่วยผลักอาหาร หรือบีบไล่อาหารให้เคลื่อนที่ต่อ
การย่อยทางเคมี (Chemical Digestion) บริเวณดูโอดีนัม จะมีน้ำย่อยจากแหล่งต่าง ๆ มาช่วยย่อย
การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นำอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน กลีเซอรอล ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกือบทั้งหมดเพราะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลำไส้เล็กจะย่อยพับไปมา และมีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลลัส (Villus) เป็นจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus) ในคน มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด
ฮอร์โมนจากลำไส้เล็ก
ฮอร์โมนที่สร้าง : ซีครีทิน ( secretin ) สร้างจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า ดูโอดีนัม ( duodenum )
คอลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin) สร้างจากดูโอดีนัม
อวัยวะเป้าหมาย : ตับอ่อน , ท่อน้ำดี
หน้าที่ : -กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์และโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต( NaHCO3 ) เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
- กระตุ้นท่อน้ำดีให้บีบตัวหลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
อย่าลืมทานผักเยอะ ๆ นะครับ เอ็นไซม์ก็มีในผักสดนี่แหละครับ สวัสดี
และเปลี่ยนคำว่า You are what you eat เป็น You are what you absorbed มาดูกัน
มีรถตู้มาจอดหน้าบ้านผม และมีคนช่วยหามยายคนหนึ่งลงมาจากรถ ผมเลยต้องรีบจัดเตรียมที่ให้คุณยายนอนพักโดยด่วน พอผมเห็นยายปุ๊ป ก็วินิจฉัยได้ปั๊บ ว่า ทุพโภชนาการ
ลูก ๆ บอกว่าไปนอนมาแทบทุกโรงพยาบาล จนต้องปล่อยให้กลับมาตายที่บ้าน (เศร้ามั๊ยครับ) แต่ลูกท่านหนึ่งมีเพื่อนเป็นผู้ป่วยผม เลยตัดสินใจเสี่ยงดู เขาพูดอย่างนั้นนะ (ฟังแล้วก็เคือง ๆ นะ เหมือนดูถูกยังไงไม่รุ) ก็มีการซักประวัติกันยาวนานมาก อาหารก็กินอาหารได้ปกติ และอาหารก็ดีสำหรับสุขภาพทั้ง
นั้นแต่ตัวซีด ไม่มีแรง มึนศีรษะ มือเท้าชา ผมขอดูผลการตรวจ ก็ไม่เลวสำหรับคนอายุ 76 ปี ผมคิดในใจ ลำไส้แหง ๆ เลยถามว่า ทานยาต้ม ยาสมุนไพรมานานหรือยัง ลูก ๆ ทำเป็นงง ว่าผมรู้ได้อย่างไร คำตอบคือ ราว 20 ปี เลยอธิบายไปว่า สำไส้มีผนังเป็นไขมันพอทานยาต้มซึ่งมีตะกอนที่จับกับไขมันได้ อาหารก็ผ่านลำไส้ยาก เอาของเสียออกก็ยาก ก็เลยเป็นเช่นนี้ และสะสมตั้ง 20 ปีคิดดูเอาเอง ผมเลยจัด Soluble fiber เพื่อล้างลำไส้ให้ 5 ซอง ซองละ 80 บาท แล้วบอกไปว่าแค่นี้แหละ รับรองวิ่งปร๋อ ทุกคนงง และพายายกลับบ้านแบบ คงคิดว่าไอ้นี่บ้า แหงๆ ผมก็ยาว หนวดเคราเฟิ้ม แต่ก็กลับ ผมก็นั้งอมยิ้มตอนเขาหามยายขึ้นรถ
5 วันต่อมา รถตู้คันเดิม มาจอดที่หน้าบ้าน คนเต็มรถเลย ทุกคนรีบเดินมาหาผม เล่นเอาผมตกใจหมดเลย พวกเขายกมือไหว้ทั้งที่ผมอายุน้อยกว่า แล้วมีคนหนึ่งตะโกนไปที่รถ ว่า “แม่ลงมาขอบใจหมอเค้าหน่อยซิ” ยายคนนั้นเดินมาด้วยหน้าตายิ้มแย้มตรงมาที่ผม นั่งลงแล้วประนมมือวางลงที่อกผม “ไอ้ลูกบาวเห้อ กูไม่รู้อิขอบคุณมึ๊งพันปรือดี”
นี่เป็นเคสที่น่าขำที่สุดในชีวิตผม เรื่องมันง่ายครับ ถ้าไม่มีการแบ่งการรักษาเป็นแบบเฉพาะทางไปซะหมด เพราะร่างกายต้องมองที่ภาพรวมเสมอครับ งั้นมาดูว่าทำไมผมถึงวินิจฉัยอย่างนั้น
ลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างของลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็กของคนมีลักษณะคล้ายท่อขดไปมาอยู่ในช่องท้องแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ดูโอดีนัม (Duodenum) ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีรูปร่างเหมือนตัวยูคลุมอยู่รอบๆบริเวณส่วนหัวของตับอ่อน (Pancreas) ภายในดูโอดีนัมมีต่อมสร้างน้ำย่อยและเป็นตำแหน่งที่ของเหลวจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับมาเปิดเข้า จึงเป็นตำแหน่งที่มีการย่อยเกิดขึ้นมากที่สุด
เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 2 ใน 6 ของลำไส้เล็กหรือประมาณ 3-4 เมตร
ไอเลียม (Ileum) เป็นลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายปลายสุดของไอเลียมต่อกับลำไส้ใหญ่ บริเวณลำไส้ตอนต้น (Duodenum) จะมีน้ำย่อยจากสามแหล่งมาผสมกับไคม์Chyme = อาหารที่คลุกเคล้ากับน้ำย่อยและถูกย่อยไปบางส่วน มีลักษณะคล้ายซุปข้นๆ) ได้แก่น้ำย่อยจากผนังลำไส้เล็ก (Intestinal Juice)น้ำย่อยจากตับอ่อน (Pancreatic Juice)น้ำดี (Bile) จากตับ (Liver) (ซึ่งนำมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก (Intestinal Juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากผนังของลำไส้เล็กเอง ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้
ไดเปปดิเดส (Dipeptidase)ย่อยDipeptide ได้ Amino Acid
มอลเทส (Maltase) ย่อย Maltose ได้ Glucose + Glucese
ซูเครส (Sucraes) ย่อย Sucrose ได้Glucose + Fructise
แลกเตส (Lactaes) ย่อย Lactose ได้Glucose + Galactose
ไลเปส (Lipaes) ย่อย Fat ได้Fatty Acid + Glycerol
นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายเปปไตด์ (Peptide)จนได้ Amino Acid เช่น Carboxypeptidase และ Aminopeptidase
การควบคุมการหลั่งน้ำย่อยของลำไส้เล็ก ลำไส้เล็ก จะหลั่งน้ำย่อยออกมาอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS = Automatic Nervous System) ชนิด Parasympathetic Nerve หรือเป็นประสาทสมองคู่ที่ 10 (Vagus Nerve)
การย่อยอาหารในลำไส้เล็กมี 2 วิธี
การย่อยเชิงกล (Mechanical Digestion) มีแบบสำคัญคือ
1. การหดตัวเป็นจังหวะ (Rhythmic Segmentation) เป็นการหดตัวที่ช่วยให้อาหารผสมคลุกเคล้ากับน้ำย่อย หรือช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนที่ไปยังทางเดินอาหารส่วนถัดไป อาจมีจังหวะเร็ว 15-20 ครั้ง/นาที หรือช้า 2-3 ครั้ง/นาที
2. เพอริสตัลซิส (Peristalsis)เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน การเคลื่อนไหวแบบนี้จะช่วยผลักอาหาร หรือบีบไล่อาหารให้เคลื่อนที่ต่อ
การย่อยทางเคมี (Chemical Digestion) บริเวณดูโอดีนัม จะมีน้ำย่อยจากแหล่งต่าง ๆ มาช่วยย่อย
การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นำอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน กลีเซอรอล ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ลำไส้เล็ก เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกือบทั้งหมดเพราะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลำไส้เล็กจะย่อยพับไปมา และมีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลลัส (Villus) เป็นจำนวนมาก ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus) ในคน มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด
ฮอร์โมนจากลำไส้เล็ก
ฮอร์โมนที่สร้าง : ซีครีทิน ( secretin ) สร้างจากบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่า ดูโอดีนัม ( duodenum )
คอลีซิสโตไคนิน (cholecystokinin) สร้างจากดูโอดีนัม
อวัยวะเป้าหมาย : ตับอ่อน , ท่อน้ำดี
หน้าที่ : -กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งเอนไซม์และโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต( NaHCO3 ) เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
- กระตุ้นท่อน้ำดีให้บีบตัวหลั่งน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น
อย่าลืมทานผักเยอะ ๆ นะครับ เอ็นไซม์ก็มีในผักสดนี่แหละครับ สวัสดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น