หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ดื่มอย่างไรส่งผลต่อ สมอง และ ร่างกาย น้อยที่สุด

มาเริ่มต้นที่กระบวนการแผลงฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ในร่างกายไว้เป็นความรู้กันก่อนนะครับ ซึ่งแบ่งเป็นปฏิกิริยาได้ดังนี้
ปฏิกิริยาแรก
จะเกิดขึ้นทันทีที่ดื่มเหล้าแล้วแอลกอฮอล์ก็วิ่งเข้าสู่ตับ เอนไซม์ในตัวคนเราจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นสารตัวใหม่ ชื่อ อะเซ็ตทัลดีไฮด์ แล้วเปลี่ยนต่อเป็น อะซิเทต แล้วเคลื่อนตัวไปยังสมองในส่วนของต่อมควบคุมระดับเกลือและน้ำตาลในร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ อีกมากมายหลายส่วน ผลจากการเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ นี่เองทำให้ร่างกายสำแดงอาการเริ่มตั้งแต่อาการสมองโปร่งโล่งสบายในระยะแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกราวกับถูกบีบหนักๆ
สักดอกสองดอก แล้วร่างกายก็จะเริ่มผิดเพี้ยน เคลื่อนไหวโซซัดโซเซ ลิ้นก็ชักจะแข็งๆ พูดจาอ้อแอ้ หูอื้อ ตาลายและแดงก่ำ ไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์ บางคนถึงขนาดความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ถ้าดื่มต่อไปอย่างยั้งไม่หยุดก็จะตามมาติดๆ ด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และเกิดปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน หนุกหนาน
ปฏิกิริยาต่อมา
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาแรก ส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ปกติเซลล์สมองจะมีกลไกป้องกันตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงผนังเซลล์ให้หนามากพอ ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำลาย ดังนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เดินทางมาสู่สมองเซลล์ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลของการอาการเมาค้างตามมาในที่สุด
ปฏิกิริยาสุดท้าย
เป็นกระบวนการแห้งเหือดของน้ำหรือของเหลวภายในร่างกายเพราะแอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยของเหลวในร่างกาย โดยดูดซึมและขับถ่ายในรูปปัสสาวะและยังขับสารอาหารสำคัญๆ ออกมาอีกเพียบ
มาว่าต่อที่อาการเมาค้างกันเลยครับ
อาการเมาค้างเป็นอาการที่คล้ายกับเพิ่งฟื้นไข้ เพราะร่างกายขาดน้ำทำให้เซลล์สมองเหี่ยวลง แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการขับของเสียในร่างกายในรูปของปัสสาวะ พร้อมกันนั้นยังขับสารอาหารสำคัญของร่างกายออกมาด้วยทั้งแมกนีเซียม โปตัสเซียม และวิตามินบี 1, 6 ฯลฯ
เกิดการคั่งของสารแอลดีไฮด์ (Aldehyde) ซึ่งทำลายสมอง และระบบประสาท เกิดพิษในร่างกายจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินที่ร่างกายจะสามารถรับได้ และทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ รบกวนการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ทำให้ส่งผลให้เกิดอาการที่มักได้ยินผู้ดื่มพูดๆ กัน ว่าในหัวจะเหมือนมีใครอาค้อนมากระหน่ำ ปวดหนึบๆ บางคนปวดจี๊ดๆ ต่อเนื่องหรือบางคนปวดตลอดเป็นระยะยาวๆ แล้วยิ่งถ้าขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย แม้แต่เพียงน้อยนิด ก็จะยิ่งปวดหัวหนักเข้าไปอีก ท้องไส้จะเบาโหวง คลื่นเหียนเหมือนเพิ่งลงจากรถไฟเหาะตีลังกามาสักสิบรอบ นอกจากนี้เจ้าตัวยังพบกับความยากลำบากในการลืมตา โดยเฉพาะถ้ามีลำแสงสาดส่องเข้ามากระทบดวงตาอันฉ่ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์แล้วละก็จะยิ่งทวีความปวดร้าวในหัวเหมือนหัวจะระเบิดเป็นเสี่ยงๆ
แถมอาการเมาค้างยังทำให้ระบบประสาทสัมผัสปั่นป่วนตามไปด้วย กล่าวคือเสียงที่เคยกระทบโสตประสาทว่าไพเราะนักหนากลับกลายเป็นเสียงที่น่ารำคาญ จะกินจะลิ้มชิมของอร่อยสักเพียงใดก็เหมือนลิ้นคนกลายเป็นจระเข้ คือ ไม่รู้รสอะไรเลย แล้วริมฝีปากก็จะแห้ง เหมือนอยู่ท่ามกลางทะเลทรายในบ้าน อาการเพี้ยนๆ ที่เกิดขึ้นอีกก็คือ สภาพความปั่นป่วนในหัวอก หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ตามมาด้วยการเสียสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวจะลุกจะนั่ง จะเดิน ก็แข็งทื่อ ไม่รวดเร็วคล่องแคล่วเหมือนใจนึก แถมท้ายด้วยการอาเจียนขนานใหญ่ ตามมาติดๆ ด้วยอาการผะอืดผะอม คืออาเจียนก็ไม่อาเจียน แล้วก็เป็นอยู่อย่างนี้นานทั้งวัน นี่ผมฟังเขามา อยากเป็นอย่างนี้บ้างจัง แต่ทำไม่เป็นสักที
บางคนอาจมีท้องเสีย ความดันเลือดตัวบนสูงขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น หรือมีอาการบ้านหมุนร่วมด้วย ยิ่งในคนที่เป็นโรคหัวใจก็จะเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตง่ายกว่าคนปกติ อันนี้น่ากลัวนะ
ไม่อยากมีอาการเมาค้างรึ กรุณาตามมาติด ๆ ครับ
แนะนำว่าก่อนไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรไปขณะกำลังหิว และไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมก่อนไป เพราะจะทำให้ยิ่งดื่มมากขึ้น พยายามรับประทานผักที่มีกรดโฟลิก (Folic acid) ซึ่งทำหน้าที่ฟื้นฟูเซลล์ที่จะถูกทำลายโดยแอลกอฮอล์ และไฟเบอร์สูง หรือทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีนที่มีไขมันดีรองท้องไว้ก่อน (ไปหาอ่านดู โพสต์ไว้แล้วครับ) เพื่อช่วยชะลอการดูดซึมของแอลกอฮอล์
ขณะดื่มควรทำให้ร่างกายลดการดูดซึมของแอลกอฮอล์ และขับออกทางปัสสาวะด้วยการดื่มน้ำมากๆ และระวังไม่ให้ท้องว่างโดยการรับประทานกับแกล้ม เลือกผสมน้ำแทนการผสมโซดาเพราะโซดาจะทำให้การดูดซึมไปสู่สมองเร็วขึ้นรวมทั้งมีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ร่างกายก็ต้องใช้แคลเซียมในการขับออกอีก
ควรรับประทานวิตามินบี 6 เพิ่มระหว่างดื่มช่วยลดอาการเมาค้างลงได้ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้การทำงานของวิตามินบี 6 ลดลงทำให้ร่างกายขาดพลังงาน วิตามินบี 6 (Pyridoxine) พบมากในรำข้าว สมุนไพรแห้ง กระเทียม ตับ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน เมล็ดดอกทานตะวัน เฮเซลนัท และ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หลายชนิดสลับกันไปมาแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การคอยเตือนตัวเองไม่ให้ดื่มมากเกินไป แต่ถ้าห้ามไม่ได้ ก็ตามมาครับ
สูตรผมน่ะรึ ก็ไม่ยาก แถมท้าดื่มได้ทั้งคืนแล้วต่ออีกหนึ่งวันยังไหวเลยครับแล้วอ่านหนังสือไปด้วยก็ยังได้ ตามมาครับ
เมื่อต้องไปสังสรรค์แล้วดื่มแน่ ๆ ก่อนออกจากบ้านผมจะกิน
1 เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ฝ่ามือ เพราะมันจะถูกนำไปสร้างสารป้องกันสมอง
2 เมล็ดอัลมอนด์ 1 ฝ่ามือ เพราะน้ำมันดีเยอะ และ วิตามินอีกเพียบ อ่านใน https://www.facebook.com/photo.php?fbid=339538666201162&set=pb.100004350947568.-2207520000.1418517711.&type=3&theater
3 แคลเซียมกับแม็กนีเซียม สัก 600 mg เพราะมันถูกใช้แน่ ๆ แต่ถ้าไม่กินไป ร่างกายก็จะไปดึงจากกระดูกมาใช้
4 ตามด้วยมะนาว 1 ลูก น้ำ ครึ่งแก้ว อันนี้ทำให้ร่างกายเป็นด่าง
แล้วก็เดินทาง
มาว่ากันที่กับแกล้มที่ดีครับ
แน่นอนต้องมี
1 ผัดผักที่มี Folic สูง ซึ่งจะประกอบด้วย…..กระเทียม ตับ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ผักใบเขียว ต่างๆ ผักป้วยเล้ง ผักคะน้า ผักโขม ผักกาดหางหงส์ หน่อไม้ฝรั่ง กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แครอท
ฟักทอง ผักกาดดอง เป็นต้น
2 ปลาทอดขมิ้น แกง ต้ม ที่มีขมิ้น เพราะขมิ้นมีสารอาหารป้องกันสมองจากแอลกอฮอล์
3 ถั่วชนิดต่าง ๆ เมล็ดดอกทานตะวัน เพราะมีไฟเบอร์ซึ่งจะไปลดการดูดซึมแอลกอฮอล์ และ Folic สูง
แค่นี้ก็พอแล้วครับ กับแกล้ม
ในระหว่างดื่ม
• เลี่ยงอาหารประเภทไขมัน เพราะจะทำให้อาเจียนได้ง่าย
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชนิดที่ผสมเข้าด้วยกัน
• เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำตามด้วย เพื่อจะได้จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์เข้าสู่เส้นเลือด และป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
และ หลังปาร์ตี้ก่อนจะเข้านอนควรดื่มน้ำ น้ำส้ม หรือน้ำมะนาวจำนวนมาก เพื่อขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกายและป้องกันสมองเกิดการหดตัวจากการที่ร่างกายดึงน้ำจากสมอง เพราะวิตามินซีจะช่วยเร่งการเผาผลาญแอลกอฮอล์ในตับ หรือดื่มน้ำวุ้นจากใบว่านหางจระเข้เพราะช่วยสลายพิษในตับ
สำหรับใครที่ดื่มหนักไปจนเมาค้าง ตามมาครับ
• ไม่ควรนอนจมอยู่บนเตียงทั้งวัน ควรจะลุกขึ้นมา สูดอากาศบริสุทธิ์ เพราะออกซิเจนจะช่วยให้เกิดกระบวนการเมตะบอลิซึมมากขึ้น ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงจนรู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า มากขึ้น
• ถ้าไม่ดีขึ้น แน่นอนต้องพึ่งพายาหอมผสมน้ำอุ่น ยาดม หรือยาธาตุ และยาสมุนไพรขมิ้นชัน ซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารมีสภาพเป็นกลาง หรือเป็นปกติมีความสมดุลขึ้น
• ควรนอนหลับ นอนพักผ่อนให้ได้อีกสักระยะหนึ่ง ก่อนไปทำงานประเภทขับรถหรือทำงานเครื่องจักรกล
อาหารเช้าควรเลือกอาหารประเภทโปรตีน และดื่มน้ำหวานเล็กน้อย น้ำผึ้งผสมมะนาว เพราะแอลกอฮอล์ทำให้สมองขาดน้ำตาล และควรดื่มเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูงเพื่อช่วยลดปริมาณสารตกค้างที่มีอยู่ในตับ จิบน้ำอุ่นๆ ผสมมะนาว ไม่ควรดื่มกาแฟ เพราะกาแฟจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น ถึงไม่หิวก็ควรรับประทานอาหารประเภทย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม, โจ๊ก, น้ำซุปใส ฯลฯ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทมันๆ เพราะอาจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียน
พยายามเดินช้าๆ หรือนั่งใต้ต้นไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจน หรือใช้สูตรนำใบรางจืดประมาณ 4-5 ใบมาตำหรือปั่นและคั้นเอาน้ำออกมาจะช่วยถอนพิษและลดอาการเมาค้างได้เป็นอย่างดี ถ้ายังรู้สึกคลื่นไส้อาจะใช้ยาดม ยาหอมฯลฯ
ควรช่วยให้ผู้ที่เมาค้างรู้สึกสดชื่น และช่วยลดอาการปวดศีรษะด้วยการเช็ดตัว เช็ดหน้าด้วยน้ำเย็น และควรใช้ผ้าประคบบริเวณใบหน้า และศีรษะ และถ้าปวดศีรษะมากควรเลือกทานแอสไพริน หลีกเลี่ยงพาราเซตามอล เนื่องจากส่งผลต่อตับอาจเกิดอันตรายได้
มาว่ากันที่สูตรแก้เมาค้างกันครับ
แตงโมแช่เย็นเจี๊ยบ
นอกจากนี้อาจผสมสตรอเบอรี่ด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นผลไม้หนึ่งเข้ากันได้ดีกับแตงโม เพราะให้รสชาติหลากหลาย อาจสลับใช้ฮันนี่ดิวผสมแบล็คเบอรี่ บ้างก็ได้ ใช้แตงโมขนาด 1 นิ้ว 1 ชิ้น สตรอเบอรี่เด็ดก้านออกแล้ว 6 ผล ถ้าให้ชื่นใจยิ่งขึ้น ควรแช่เย็นผลไม้ก่อนนำมาคั้น
น้ำแครอทผสมแอปเปิ้ล
ดูจะเป็นน้ำผักผลไม้หลักๆ ที่ดีที่สุด และเหมาะจะเป็นเครื่องดื่มแก้วแรก สำหรับผู้ที่เริ่มทดลอง เริ่มด้วยการผสมน้ำคั้นทั้งสองอย่างนี้ในปริมาณเท่าๆ กัน และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามที่คุณชอบ ใช้แครอท 4 หัว แอปเปิ้ล 1 ลุก
น้ำจับฉ่าย
น้ำผักผลไม้ชนิดนี้จะมีรสดียิ่งขึ้นถ้าเหยาะซอสพริก 2-3 หยด หรือเพิ่มกระเทียมสักกลีบ หรือพริกสดก็จะได้รสชาติแปลกออกไป
ใช้มะเขือเทศสุก 2 ลูก แครอท 2 ลูก บีทรูท ½ หัว เชเลอรี่ 1 ต้น แตงกวา 1 ลูก
น้ำวุ้นจากใบว่านหางจระเข้
น้ำสมุนไพรนี้ช่วยให้ตับสามารถทำงานได้เป็นปกติเร็วขึ้น ช่วยสลายพิษได้
• สูดกลิ่นหอม โดยใช้นำมันหอมระเหย ก็ดีครับ
สูดกลิ่นจากเตาระเหย (มิลลิลิตร) เฟนเนล 2 หยด, ลาเวนเดอร์ 1 หยด, น้ำมันจันทน์ 2 หยด, เลมอน 4 หยด
หรือ นวดตัว (ผสมน้ำมันนวด 50 หรือแช่ในอ่างอาบน้ำ) เฟนเนล 5 หยด, ลาเวนเดอร์ 3 หยด, น้ำมันจันทน์ 5 หยด, เลมอน 10 หยด
ประคบน้ำร้อน หรือประคบน้ำเย็น เฟนเนล 1 หยด, จูนิเปอร์ 2 หยด, โรสแมรี่ 1 หยด
• สูตรจิบน้ำมันดอกคำฝอยผสมน้ำมันงา
• สูตรจิบน้ำมันขิง ผสมโซดา น้ำ น้ำมะนาวหรือน้ำส้ม
• สูตรกินแอสไพริน 2 เม็ด ในตอนเช้าและดื่มน้ำตามมากๆ
• สูตรกินปลาทูน่าที่ผสมน้ำมะนาว มะเขือเทศ กระเทียม พริก แตงกวา
• สูตรกินซุปไก่ผสมหอมใหญ่ แครอต แป้งข้าวโพด เกลือ กระเทียม
• สูตรกินน้ำกะหล่ำปลีดอง ผสมน้ำมันมะกอกเข้าด้วยกัน
• สูตรฝานมะนาวเป็นแว่นแล้วนำมาถูรักแร้
• สูตรอบไอน้ำ แต่จะต้องไปตรวจสุขภาพก่อนว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บอะไร มิฉะนั้นแทนที่จะหายเมาค้าง ท่านอาจะจะพับดับชีพได้เหมือนกัน
• สูตรใช้เปลือกของต้นควินินหรือน้ำโทนนิ ซึ่งขมปี๋จะช่วยรักษาการเมาค้างได้ นอกจากควินินแล้วพืชที่มีรสขมอื่นๆ ก็มักจะมีคุณสมบัตินี้เช่นกัน เช่น dandelion, gentian, mugwort และ angostura สำหรับ angostura นั้น มีทำเป็นน้ำยาขมเอาไว้ผสมเหล้า เรียกว่า Angostura Bitters เมื่อเกิดเมาค้าง ก็เอา Angostura Bitters 2-3 หยดใส่ในน้ำร้อน เติม roselle และมะขามเพื่อปรุงรส ดื่มน้ำชานี้เยอะๆ จะช่วยแก้การเมาค้างได้
• สูตรทานแปะก๊วย นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นผู้พบว่าเมล็ดแปะก๊วยมีเอนไซม์ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายขจัด แอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้น การกินเมล็ดแปะก๊วยจึงช่วยรักษาอาการเมาค้างได้ ในญี่ปุ่นมักจะเสิร์ฟเมล็ดแปะก๊วยในเวลามีปาร์ตี้โดยเชื่อกันว่าจะป้องกันการเมาและเมาค้าง
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น และพบว่ามีการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียนมาก ตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ ท้องเสียไม่หยุด ใจสั่น อ่อนเพลียนานเกิน 1 วัน เป็นอาการขาดน้ำ ก็ไปกินน้ำเกลือถุงที่โรงพยาบาลกันนะครับ
ไม่ยากใช่ไหมครับ เอาล่ะไปปาร์ตี้กัน สวัสดี
REFERENCES:
BBC News, Wednesday, 28 December 2005, The ultimate hangover cure? By Becky McCall
http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/magazine/4563760.stm
Borrelli F, Capasso R, Aviello G, Pittler MH, Izzo AA. (2005), Effectiveness and safety of ginger in the treatment of pregnancy-induced nausea and vomiting. Obstet Gynecol. 105(4):849-56.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15802416
Ernst E, Pittler MH.. (2000). Efficacy of ginger for nausea and vomiting: a systematic review of randomized clinical trials. Br J Anaesth. Mar;84(3):367-71.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10793599
Free Full Text http://bja.oxfordjournals.org/cgi/reprint/84/3/367.pdf
Kerai MD, Waterfield CJ, Kenyon SH, Asker DS, Timbrell JA. (1998). Taurine: protective properties against ethanol-induced hepatic steatosis and lipid peroxidation during chronic ethanol consumption in rats. Amino Acids. 15(1-2):53-76.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9871487
Kerai MD, Waterfield CJ, Kenyon SH, Asker DS, Timbrell JA. (1999). Reversal of ethanol-induced hepatic steatosis and lipid peroxidation by taurine: a study in rats. Alcohol Alcohol. Jul-Aug;34(4):529-41.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10456581
Levine ME, Gillis MG, Koch SY, Voss AC, Stern RM, Koch KL. (2008). Protein and ginger for the treatment of chemotherapy-induced delayed nausea. J Altern Complement Med. Jun;14(5):545-51.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18537470
Myers RP, Shaheen AA, Li B, Dean S, Quan H. (2008). Impact of liver disease, alcohol abuse, and unintentional ingestions on the outcomes of acetaminophen overdose. Clin Gastroenterol Hepatol. Aug;6(8):918-25
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18486561
Ozgoli G, Goli M, Simbar M. (2009). Effects of ginger capsules on pregnancy, nausea, and vomiting. J Altern Complement Med. Mar;15(3):243-6
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19250006
Prescott LF. (2000). Paracetamol, alcohol and the liver. Br J Clin Pharmacol. Apr;49(4):291-301.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10759684
Free Full Text http://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/PMC20149…/pdf/bcp0049-0291.pdf
Salaspuro V. (2007). Pharmacological treatments and strategies for reducing oral and intestinal acetaldehyde. Novartis Foundation Symposium. 285:145-53; discussion 153-7, 198-9.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17590993
Schmidt LE, Dalhoff K, Poulsen HE. (2002). Acute versus chronic alcohol consumption in acetaminophen-induced hepatotoxicity. Hepatology. Apr;35(4):876-82.
PubMed Abstract http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11915034
Sprince H, Parker CM, Smith GG, Gonzales LJ. (1974). Protection against acetaldehyde toxicity in the rat by L-cysteine, thiamin and L-2-methylthiazolidine-4-carboxylic acid. Agents Actions. Apr;4(2):125-30.
PubMed http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4842541
Abstract http://www.springerlink.com/content/w307w62037125v33

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น