หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โรคคนเมือง

ที่ผมเรียกเช่นนั้นเพราะไม่มีใครในชนบทขอคำปรึกษาผมเลย และเป็นโรคของคนที่ยุ่งกับการงานหรือกิจธุระมากจนต้องอั้นอุจจาระบ่อย ๆ ทานผักหรือผลไม้น้อย ไม่ออกกำลังกาย ชอบอาหารที่มาจากแป้ง และเนื้อสัตว์ ชอบทานอาหารตอนค่ำ นอนดึก ชอบดื่มน้ำเย็นน้ำอัดลม และสุดท้ายก็จบที่อาหารไม่ย่อย มาครับมาทำความรู้จัก เผื่อท่านรู้จักใครที่มีความทุกข์ในเรื่องนี้อยู่ครับ
เรคโตซีล “Rectocele” หรือกระเปาะทวารหนัก
คือการที่ผนังด้านหน้าของทวารหนักขยายจนตัวมากเกินไปจนไปเบียดช่องคลอด หรือยื่นเป็นถุงเข้าไปทางช่องคลอด เกิดจากกล้ามเนื้อหรือผนังที่กั้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนักฉีกขาดหรืออ่อนแอจากการคลอดบุตรหรือจากการเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน ๆ หรือเป็นความอ่อนแอของกล้ามเนื้อเองจากขาดสารอาหารที่เหมาะสมในร่างกาย และถุงเนื้อจะยื่นเข้าไปในช่องคลอดมากขึ้นและใหญ่ขึ้นในระหว่างการเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้อุจจาระที่ออกมาแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งผ่านไปทางทวารหนักได้ อีกส่วนหนึ่งเข้าไปตกค้างอยู่ที่บริเวณถุงหรือกระเปาะ ทำให้เกิดความรู้สึกตุงบริเวณทวารหนัก ยิ่งเบ่งถ่ายมากก็จะมีอุจจาระไปตกค้างมาก ทำให้รู้สึกถ่ายไม่สุด ปวดถ่ายตลอดเวลา

การแก้ไขที่ทำได้เฉพาะหน้าคือการเอามือไปกดรอบ ๆ ทวารหนัก จะทำให้อุจจาระบางส่วนไหลออกมาจากถุง กลับเข้าสู่ทวารหนัก และถ่ายออกมาได้ หรือจะสอดนิ้วเข้าไปในช่องคลอด ดันถุงหรือกระเปาะที่โป่งพองเข้ามาในช่องคลอด กลับเข้าไปในทวารหนัก อุจจาระที่ตกค้างเข้ามาในถุงก็จะถูกดันกลับไปยังทวารหนักจนหมด อาการต่าง ๆ ก็จะหายไป การใช้นิ้วเข้าไปช่วยในทวารหนักมักจะควักอุจจาระออกไม่หมด และเกิดแผลถลอกมีเลือดออกจากทวารหนักได้โดยง่ายครับ
การบำบัด
ในขั้นแรกทำโดยให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น หรือใช้สารสกัดประเภทเพิ่มกากใยให้กับอุจจาระและเป็นการขับพิษที่ตกค้างที่ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอ ร่วมกับการดื่มน้ำให้มากวันละ 2-3 ลิตร และแนะนะให้ทานน้ำมันดีเพื่อเพิ่มความนิ่มของอุจจาระร่วมกับการออกกำลังกายโดยการซิตอัพ และขมิบก้น บ่อยๆ เพื่อให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวดีขึ้นและอุจจาระเป็นก้อนแต่นิ่ม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจถ่ายอุจจาระสะดวกขึ้นจนสามารถยอมรับได้ ผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นคงต้องเพิ่มแคลเซียมกับแม็กนีเซียมให้กล้ามเนื้อทำงานดีขึ้น รวมถึงการทำนมถั่วสี่อย่างและเอ็นไซม์รับประทาน ถ้าผู้มีปัญหานี้ปฏิบัติได้จริงตามนี้ไม่นานร่างกายจะทำการซ่อมแซมจนเป็นปรกติได้ครับ
แล้วจะเกิดกับใครได้บ้างตามมาครับ
เพศหญิงอายุระหว่าง 30-50 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคยมีบุตรหลายคน
อาการมีดังนี้ครับ
ปวดถ่ายอุจจาระเหมือนเช่นคนปกติ แต่เมื่อเข้าไปถ่ายอุจจาระ จะถ่ายอุจจาระช้ามาก ต้องเบ่งถ่ายอย่างมาก หรือถ่ายไม่สุด
ถ่ายบ่อย ๆ ถ่ายเสร็จแล้วก็มีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระตุงอยู่ที่ก้น และอยากจะเข้าไปถ่ายอุจจาระใหม่ จนกลายเป็นการกลัวการถ่ายอุจจาระ
ถ้าท่านมีลักษณะตามดังกล่าวท่านอาจเป็นโรคชนิดนี้ ซึ่งไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่โรคติดต่อ และสามารถแก้ไขได้โดยง่าย ถ้าเป็นการแพทย์แผนปัจจุบันจะแนะนำให้ผ่าตัด แต่สายธรรมชาติบำบัดไม่ต้องผ่าครับ เพราะจริง ๆ แล้วร่างกายซ่อมตัวเองได้ครับ
ก่อนลาก็ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้านะครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น